การเติบโตอย่างมหาศาลของข้อมูล สร้างความท้าทายให้องค์กรธุรกิจในเอเชียแปซิฟิคและญี่ปุ่น
มากกว่า 9 ใน 10 เผชิญอุปสรรคในการปกป้องข้อมูล80 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรต้องประสบกับความท้าทายในการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง และเกือบหนึ่งในสาม (32 เปอร์เซ็นต์) ได้รับความเดือดร้อนจากเหตุการณ์การสูญหายของข้อมูลอย่างถาวรในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
องค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นมีการจัดการข้อมูล 8.13 เพตะไบต์ (PB) ในปี 2561 หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตอย่างมหาศาลที่ 384 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับ 1.68 เพตะไบต์ (PB) ในปี 2559
– 90 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรธุรกิจมองเห็นคุณค่าจากข้อมูล แต่มีเพียง 35 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่สามารถสร้างรายได้จากข้อมูลได้แล้ว
– 94 เปอร์เซ็นต์เผชิญหน้ากับความท้าทายในด้านการปกป้องข้อมูล และเป็นจำนวนถึง 43 เปอร์เซ็นต์ที่ประสบกับความท้าทายในการหาโซลูชันการปกป้องข้อมูลที่เหมาะสมสำหรับเทคโนโลยีใหม่กว่า อาทิ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และแมชชีน เลิร์นนิ่ง
– มากกว่าหนึ่งในสาม (34 เปอร์เซ็นต์) ของผู้ตอบแบบสอบถามมั่นใจเป็นอย่างมากว่าโครงสร้างพื้นฐานด้านการปกป้องข้อมูลของพวกเขาสอดคล้องกับข้อกำหนดระเบียบปฏิบัติภายในภูมิภาค แต่มีเพียง 18 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่เชื่อว่าโซลูชั่นการป้องกันข้อมูลของพวกเขาจะสอดคล้องกับความท้าทายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
องค์กรธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น (APJ) ในปัจจุบันกำลังจัดการข้อมูลที่เพิ่มเกือบ 5 เท่าของจำนวนข้อมูลที่เคยจัดการในปี 2559 และมีเพียง 13 เปอร์เซนต์ของธุรกิจที่จัดอยู่ในกลุ่ม “ผู้นำ” (leaders) ด้านการปกป้องข้อมูล ตามรายงาน ดัชนีการปกป้องข้อมูลระดับโลกของเดลล์ อีเอ็มซี ครั้งที่ 3 (Dell EMC Global Data Protection Index) ด้วยความร่วมมือกับแวนสัน บอร์น (Vanson Bourne)
งานวิจัยซึ่งสำรวจผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีจำนวนทั้งหมด 2,200 คนจากทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีพนักงานมากกว่า 250 คนใน 18 ประเทศ และ 11 อุตสาหกรรม เผยให้เห็นถึงสถานะของการปกป้องข้อมูลในกลุ่มองค์กรต่างๆ ในประเทศออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย และสิงคโปร์ ท่ามกลางสถานการณ์การเติบโตอย่างมหาศาลในปัจจุบันของข้อมูลภายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตัวดัชนีได้รายงานให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นอย่างมากมายของปริมาณข้อมูลที่ถูกจัดการ จากจำนวน 1.68 เพตะไบต์ (PB) ในปี 2559 เป็น 8.13 เพตะไบต์ (PB) ในปี 2561 และการเพิ่มขึ้นที่สอดคล้องกันของการความสำคัญของข้อมูลในเชิงธุรกจิ ซึ่งในความเป็นจริง 90 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามมองเห็นถึงคุณค่าของข้อมูล และ 35 เปอร์เซ็นต์สามารถสร้างรายได้จากข้อมูลที่มีอยู่
อย่างไรก็ตาม ดัชนียังพบว่าแม้จะมีการเติบโตแบบก้าวกระโดดอย่างน่าประทับใจของกลุ่ม “ผู้นำ (จาก 1 เปอร์เซ็นต์เป็น 13 เปอร์เซ็นต์( และ “ผู้เริ่มต้น” (adopters) (จาก 8 เปอร์เซ็นต์ขึ้นเป็น 53 เปอร์เซ็นต์) ตั้งแต่ช่วงปี 2559 เป็นต้นมา ผู้ตอบ
แบบสอบถามส่วนใหญ่ยังคงเผชิญความท้าทายในการหามาตรการด้านการปกป้องข้อมูลที่เหมาะสมพื่อจัดการกับการเติบโตอย่างรวดเร็วของข้อมูล และการเพิ่มสูงขึ้นของการใช้งานเทคโนโลยีเกิดใหม่ (emerging technologies)
สถานภาพของการปกป้องข้อมูลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค
เหตุการณ์การหยุดชะงักและการสูญหายของข้อมูลที่เกิดขึ้นด้วยระดับความถี่ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกขององค์กรธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคเน้นให้เห็นชัดถึงความจำป็นที่เร่งด่วนในการจัดการและปกป้องข้อมูลภายในภูมิภาค โดย 80 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคประสบกับความท้าทายในการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 76 เปอร์เซ็นต์ โดย 32 เปอร์เซ็นต์ในจำนวนนี้ไม่สามารถกู้คืนข้อมูลได้ด้วยโซลูชันปกป้องข้อมูลที่มีอยู่แต่เดิม
แม้ว่าการหยุดทำงาน (downtime) ของระบบที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้วางแผนไว้จะสามารถพบได้อยู่บ่อยครั้งกว่า แต่การสูญเสียข้อมูลพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่ามีผลกระทบที่สูงยิ่งกว่านั้นมากนักสำหรับองค์กรธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค โดยเฉลี่ยแล้ว การเกิดดาวน์ไทม์ 20 ชั่วโมงในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ส่งผลกระทบกับองค์กรที่เสียโอกาสในการดำเนินธุรกิจมีมูลค่าโดยรวม 494,869 ดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่บริษัทที่สูญเสียข้อมูลโดยเฉลี่ยที่ 2.04 เทราไบต์ จะเสียโอกาสในการดำเนินธุรกิจมีมูลค่าโดยรวมสูงถึง 939,703 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ส่งผลกระทบต่อองค์กรในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่เข้าสู่ตลาด (time-to-market) และการสูญเสียฐานลูกค้า ยิ่งกว่านั้น ความเป็นไปได้ของการหยุดชะงักของระบบจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเมื่อเวลาผ่านไปเมื่อเทียบกับปี 2559 และปี 2561
ทั้งนี้ 9 ใน 10 ขององค์กรธุรกิจตระหนักถึงคุณค่าของข้อมูล และ 88 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคระบุว่าพวกเขาให้ความสำคัญกับการปกป้องข้อมูลอย่างจริงจังมากขึ้นสำหรับประเภทของข้อมูลที่มีมูลค่าในการสร้างรายได้มากที่สุด อย่างไรก็ตาม สถานะของการปกป้องข้อมูลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น โดยธุรกิจมากกว่า 6 ใน 10 (64 เปอร์เซ็นต์) ยังไม่ได้สร้างรายได้จากสินทรัพย์ที่เป็นข้อมูล และองค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคส่วนใหญ่ยังคงถูกจัดอยู่ในกลุ่ม “ล้าหลัง” (laggards) “กำลังประเมิน” (evaluators) หรือ “เริ่มต้นแล้ว” (adopters) ในแง่ของความพร้อมอย่างเต็มที่ (maturity) ในด้านการปกป้องข้อมูล ซึ่งตรงกันข้ามกับการเป็น “ผู้นำ” (leaders)
“ในปัจจุบัน มูลค่าทางธุรกิจส่วนใหญ่ขององค์กรเชื่อมโยงกับข้อมูลอย่างแยกไม่ออก บริษัทในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค อยู่ในสถานะที่มีลักษณะเฉพาะในการที่จะขับเคลื่อนด้วยข้อมูลอย่างแท้จริง ดูได้จากปริมาณของข้อมูลที่ภูมิภาคนี้ผลิตขึ้นมา” อเล็กซ์ เลย์ รองประธาน ฝ่ายดาต้า โพรเท็คชั่น โซลูชัน เดลล์ อีเอ็มซี ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค กล่าว “องค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จคือกรอบการทำงานด้านการปกป้องข้อมูลที่แข็งแกร่งซึ่งมีความสำคัญออย่างแท้จริงในการที่จะได้รับความไว้วางใจ ความเชื่อมั่นจากลูกค้า”
การเติบโตของข้อมูลและเทคโนโลยีเกิดใหม่ก่อให้เกิดความท้าทาย
องค์กรธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคกำลังเผชิญกับความท้าทายในการเลือกโครงสร้างพื้นฐานและมาตรการที่เหมาะสมในการเผชิญกับการเติบโตอย่างรวดเร็วของข้อมูล และการนำเทคโนโลยีเกิดใหม่เข้ามาใช้งาน ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ (94 เปอร์เซ็นต์) พบกับอุปสรรคอย่างน้อยหนึ่งอย่างที่เกี่ยวเนื่องกับการปกป้องข้อมูล โดยความท้าทายในสามอันดับแรกในภูมิภาค รวมถึง 1. 46 เปอร์เซ็นต์ – การปกป้องข้อมูลจากการพัฒนาระบบ DevOps และการพัฒนาระบบคลาวด์ ที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว 2. 45.6 เปอร์เซ็นต์ – ความซับซ้อนของการกำหนดค่าและฮาร์ดแวร์/ซอฟต์แวร์ปฏิบัติการด้านการปกป้องข้อมูล 3. 43.4 เปอร์เซ็นต์ – การขาดโซลูชั่นการปกป้องข้อมูลสำหรับเทคโนโลยีเกิดใหม่
สำหรับผู้ที่ประสบกับความท้าทายในการหาโซลูชั่นการป้องกันข้อมูลที่เพียงพอสำหรับเทคโนโลยีที่ใหม่ว่า มากกว่าครึ่ง (54 เปอร์เซ็นต์) ระบุว่าพวกเขาไม่สามารถหาโซลูชันการปกป้องข้อมูลที่เหมาะสมสำหรับปัญญาประดิษฐ์ (AI) และแมชชีนเลิร์นนิ่ง ดาต้าได้ ตามด้วยแอพพลิเคชั่นสำหรับคลาวด์ (49 เปอร์เซ็นต์) และ IoT (40 เปอร์เซ็นต์)
ความท้าทายเกิดขึ้นจากเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ พร้อมกับการเติบโตอย่างรวดเร็วของข้อมูลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคกำลังออยู่ในขั้นเริ่มต้นในการก่อตัวเป็นรูปเป็นร่าง ด้วยเหตุนี้ จึงมีเพียง 18 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่เชื่อว่าโซลูชั่นการป้องกันข้อมูลในปัจจุบันจะสามารถตอบสนองความท้าทายทางธุรกิจในอนาคตได้ทั้งหมด “เทคโนโลยีเกิดใหม่ขับเคลื่อนโดยข้อมูลกำลังเริ่มที่จะเอื้อผลประโยชน์ทางธุรกิจที่แท้จริงให้กับภูมิภาคนี้ องค์กรที่ต้องการเร่งรัดการดำเนินการปฏิรูปไปสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) จำเป็นที่จะต้องมองไปสู่การทำให้การปกป้องข้อมูลให้เกิดขึ้นแพราะข้อมูลจะเคลื่อนตัวผ่านทุกภาคส่วนของระบบบเครือข่าย ตั้งแต่ที่อุปกรณ์ปลายทาง (edge) ไปสู่ส่วนกลางที่เป็นส่วนสำคัญของธุรกิจ (core) ไปจนกระทั่งเข้าสู่ระบบคลาวด์ (cloud) กลยุทธ์ด้านข้อมูลของบริษัทธุรกิจจึงยิ่งทวีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากต้องดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับตามความต้องการด้านการจัดการข้อมูล การกำกับดูแล การรักษาความปลอดภัย และความสามารถในการเข้าถึงอย่างครอบคลุมทั่วทั้งโครงสร้างพื้นฐานแบบมัลติ-คลาวด์ ทั้ง Off-premise และ On-premise ไพรเวท คลาวด์ และพับลิค คลาวด์ และเมื่อผลักความท้าทายออกไป โอกาสในการสร้างรายได้จากข้อมูล และข้อมูลในเชิงลึกถือได้ว่าไม่มีที่สิ้นสุดสำหรับองค์กรที่พร้อมเดินหน้าในการปฏิรูป” เลย์ กล่าวเพิ่มเติม
คลาวด์กำลังเปลี่ยนภาพการปกป้องข้อมูล
เทคโนโลยีคลาวด์กำลังกลายเป็นส่วนประกอบสำคัญของแนวการปกป้องข้อมูลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค จากข้อมูลของดัชนี การใช้งานพับลิค คลาวด์เพิ่มขึ้นจาก 27 เปอร์เซ็นต์ของสภาพแวดล้อมทางด้านไอทีทั้งหมดขององค์กรธุรกิจของผู้ที่ตอบแบบสอบถามในปี 2559 ขึ้นมาเป็น 41 เปอร์เซ็นต์ในปี 2561 และเกือบทุกองค์กร (99 เปอร์เซ็นต์) ที่ใช้พับลิค คลาวด์ ต่างเพิ่มขีดความสามารถของคลาวด์ให้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ในการป้องกันข้อมูล โดยกรณีใช้งานอันดับต้นๆ สำหรับการปกป้องข้อมูลภายในพับลิค คลาวด์ ยังรวมไปถึงการบริการสำรองข้อมูล/การทำสแน็ปช็อตเพื่อปกป้องเวิร์คโหลดและซอฟต์แวร์ป้องกันข้อมูลที่เปิดใช้งานบนคลาวด์
การค้นพบนี้ยังชี้ให้เห็นว่าการปกป้องปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้นในระบบคลาวด์คือประเด็นสำคัญสำหรับผู้นำทางธุรกิจ โดยมากกว่า 6 ใน 10 ถือว่าตัวเลือกที่สามารถปรับขยายขนาดได้ของโซลูชั่นการปกป้องข้อมูลมีความสำคัญในการคาดการณ์ปริมาณงานคลาวด์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้