“ซัมซุง” หนุนนวัตกรรม ก้าวข้ามผ่านข้อจำกัดผู้พิการทางสายตา

คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่า ผู้พิการทางสายตามีข้อจำกัดในการดำเนินชีวิตมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน ทำกิจกรรมต่างๆ และการเข้าถึงเทคโนโลยี หลายครั้งที่คนทั่วไปเกิดความสงสัยว่า ผู้พิการทางสายตาจะสามารถใช้ชีวิตอย่างไรในโลกที่เทคโนโลยีได้เปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตของผู้คนอย่างรวดเร็ว…

คำถามต่างๆ เช่น พวกเขาสามารถดูหนังในโรงภาพยนตร์ได้หรือไม่ เวลาไปเที่ยวสถานที่สวยงามต่างๆ จะชื่นชมธรรมชาติและภาพความงดงามนั้นอย่างไร และสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ ความทรงจำดีๆ ผ่านโซเชียลมิเดียให้กับเพื่อนๆ ได้ร่วมรับรู้ถึงความสุขและช่วงเวลาดีๆ เหล่านั้นได้เหมือนกับคนทั่วไปหรือไม่ คำตอบที่หลายคนฟังแล้วคาดไม่ถึงก็คือ “ได้!” โดยเทคโนโลยีนี่แหล่ะที่เป็นตัวทำลายกำแพงและข้อจำกัดด้านร่างกาย

นางสาวฐิติกาญ สุนทรวิรุฬโรฒ ผู้พิการทางสายตา พนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง

“เทคโนโลยีทุกวันนี้ช่วยให้คนตาบอดสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนทั่วไป ภายในช่วงประมาณ 5 ปีที่ผ่านมา สมาร์ทโฟนเป็นนวัตกรรมที่ช่วยให้ชีวิตสะดวกขึ้นมาก โดยส่วนตัวเป็นคนชอบเรียนรู้และพยายามเปิดใจลองทุกอย่าง ฟีเจอร์อย่าง Accessibility จะมีฟังก์ชั่นที่เรียกว่า Screen Reader และ Voice Assistant ซึ่งจะช่วยแปลงทุกอย่างที่อยู่บนหน้าจอ ไม่ว่าจะเป็นข้อความหรือรูปภาพให้กลายเป็นเสียง สามารถอธิบายสิ่งต่างๆ ได้อย่างละเอียด เวลาไปทานข้าวที่ร้านอาหารก็ทำให้สามารถอ่านเมนูอาหารได้ตามปกติเหมือนคนทั่วไป บนสมาร์ทโฟนจะมีแอปพลิเคชั่นต่างๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันให้กับผู้พิการอยู่หลายแอปฯ เช่น ‘Be My Eyes’ เป็นแอปพลิเคชันที่ช่วยเหลือคนพิการทางสายตา โดยถ้าคนพิการต้องการความช่วยเหลือจะสามารถ Video Call ไปที่อาสาสมัคร เพื่อให้อาสาสมัครช่วยอธิบายลักษณะสิ่งของหรือสภาพแวดล้อมโดยรอบ หรือถ้าเดินหลงทางก็สามารถแจ้งให้อาสาสมัครช่วยอธิบายและบอกทางให้ได้ หรือถ้าต้องการดูหนังก็มีแอปพลิเคชัน ‘พรรณนา’ ที่บรรยายสิ่งที่ฉายอยู่ยนหน้าจอให้เรารู้ ทำให้สามารถจินตนาการได้เหมือนดูภาพจากจอเทคโนโลยีเหล่านี้ช่วยให้การดำเนินชีวิตในปัจจุบันสะดวกขึ้นมากๆ” นางสาวฐิติกาญ สุนทรวิรุฬโรฒ หรือคุณแอน ผู้พิการทางสายตา พนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง เล่าถึงบทบาทของสมาร์ทโฟนที่มีต่อการใช้ชีวิตประจำวันของเธอ

นายบุญประเสริฐ สัตตานุสรณ์ ผู้พิการทางสายตา อาชีพข้าราชการ

 

นายบุญประเสริฐ สัตตานุสรณ์ ผู้พิการทางสายตา อาชีพข้าราชการ กล่าวเสริมว่า “เทคโนโลยีในปัจจุบันทำให้ผู้พิการสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนทั่วไป ส่วนตัวเป็นคนชอบอ่านหนังสือและใช้แอปพลิเคชั่นที่ชื่อว่า ‘Tap2Read’ ซึ่งในนั้นเป็นเหมือนห้องสมุดที่มีหนังสือทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นนวนิยาย งานวิจัยต่างๆ โดยแทนที่จะอ่านเป็นตัวอักษรก็ฟังเป็นเสียงแทน อ่านโดยอาสาสมัครที่มาช่วยอ่านและอัดเทปไว้ สมาร์ทโฟนเปลี่ยนชีวิตอย่างมาก  ไม่ใช่แค่ผู้พิการเท่านั้นที่ได้รับประโยชน์จากนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ได้ถูกคิดค้นขึ้น แต่ทุกคนได้ใช้ประโยชน์และมีชีวิตที่สะดวกสบายมากขึ้น เช่น ทำธุรกรรมการเงิน เรียกรถโดยสาร ผ่านสมาร์ทโฟน ทำให้สามารถเข้าถึงสิ่งต่างๆ ได้เหมือนกับคนปกติโดยไม่มีอุปสรรค”

แอปพลิเคชั่น ‘พรรณา’ ช่วยบรรยายสิ่งอยู่บนหน้าจอ ทำให้ผู้พิการทางสายตาสามารถจินตนาการได้เหมือนดูภาพ

ด้วยฟีเจอร์ ‘การช่วยเหลือในการเข้าถึง’ หรือ Accessibility บนระบบปฎิบัติการแอนดรอยด์ ที่ออกแบบขึ้นเพื่อให้ทุกคนสามารถใช้สมาร์ทโฟนได้ ทำให้ผู้ที่มีปัญหาด้านการมองเห็นและการได้ยิน ได้รับประโยชน์และใช้งานสมาร์ทโฟนได้ไม่ต่างจากคนปกติ โดยซัมซุงมุ่งมั่นที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของทุกคนด้วยนวัตกรรม เพื่อก้าวข้ามผ่านข้อจำกัดต่างๆ ในการใช้ชีวิต และทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ให้เป็นไปได้

ที่ผ่านมาซัมซุงได้พัฒนาแอปพลิเคชั่น ‘Read for the Blind’ แอปพลิเคชั่นแรกของโลกที่คิดค้นมาเพื่อให้ทุกคนสามารถสร้างหนังสือเสียงเพื่อผู้พิการทางสายตา ทั้งยังได้สนับสนุนการอบรมการใช้สมาร์ทโฟนสำหรับผู้พิการทางสายตา สถาบันคนตาบอดแห่งชาติเพื่อการวิจัยและพัฒนา ภายใต้มูลนิธิคนตาบอดไทย เพื่อส่งเสริมทักษะการใช้อุปกรณ์การสื่อสาร ผ่านฟีเจอร์ Accessibility และเทคโนโลยี AI ที่ช่วยให้ผู้ที่มีความบกพร่องด้านการมองเห็น สามารถใช้สมาร์ทโฟนเพื่ออำนวยความสะดวกสบายให้ชีวิต และได้ร่วมมือกับ ‘Mint I Roam Alone’ เจ้าของเพจท่องเที่ยวชื่อดัง จัดทำโปรเจค “ทริปไร้แสง“ พาผู้พิการทางสายตาไปตะลอนทำกิจกรรมเพื่อลบข้อจำกัดในการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการตะลุยรับประทานอาหารหลากหลายเชื้อชาติ ดำน้ำ กระโดดบันจี้จั๊ม กระโดดร่มและปีนเขา โดยมีสมาร์ทโฟนเป็นเพื่อนคู่ใจและช่วยให้การเดินทางสะดวกสบายและสนุกสนานมากยิ่งขึ้น

 

ซัมซุงผู้พิการทางสายตาสมาร์ทโฟนแอปพลิเคชั่น ‘Read for the Blind’
Comments (0)
Add Comment