E-waste หรือ ขยะอีเล็กทรอนิกส์ เป็นขยะที่มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน เป็นขยะอันตรายที่ปล่อยสารเคมีเข้าสู่ธรรมชาติ ส่งผลโดยตรงต่อสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบันรายงาน The Global E-Waste Monitor 2020 ของ United Nation University ประเมินว่า ปี 2562 ที่ผ่านมา ปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์หรือ E-Waste ทั่วโลกมีมากถึง 53,600 ล้านตัน และในปี 2573 คาดว่าจะสูงถึง 74,700 ล้านตัน โดยทวีปเอเชียเป็นทวีปที่ผลิตขยะอิเล็กทรอนิกส์สูงที่สุดที่ประมาณ 24,600 ล้านตัน และมีขยะเพียง 17.4% ที่ถูกกำจัดอย่างถูกต้อง
การทิ้งและการบริหารจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างไม่ถูกต้องอาจทำให้ขยะถูกทิ้งรวมกับขยะอื่นๆ และถูกกำจัดแบบไม่ถูกวิธี ที่สุดหากถูกฝังกลบ จะปนเปื้อนไปกับดินและน้ำ กลับมาเป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอส
สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอส อธิบายว่า ขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ เป็นหนึ่งในตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน เพราะขยะเหล่านี้เป็นขยะที่ย่อยสลายเองไม่ได้ หากไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกวิธี ก็อาจเกิดการรั่วไหลของสารเคมีลงสู่พื้นดินและแหล่งน้ำ กลับมาเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก
เอไอเอสในฐานะ Digital Life Service Provider จึงขอเป็นส่วนหนึ่งในการแสดงความรับผิดชอบและผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ด้วยการเปิดตัวแคมเปญล่าสุด “AIS E-Waste ทิ้งรับพอยท์” ซึ่งเปรียบได้กับของขวัญแทนคำขอบคุณลูกค้า ที่ร่วมคัดแยกและนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ 5 ประเภท ได้แก่ โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต, แบตเตอรี่มือถือ, สายชาร์จ, หูฟัง และพาวเวอร์แบงก์ ไปทิ้งที่เอไอเอส ช็อปทั่วประเทศ รับทันที AIS Points ชิ้นละ 5 คะแนน
กฎกติกาง่ายๆ แค่นำขยะตามเงื่อนไขไปที่ช็อป แจ้งพนักงานว่าต้องการทิ้ง นำขยะหย่อนลงถัง แล้วสแกน QR Code จากพนักงาน เพื่อรับ AIS Points โดยลูกค้าสามารถตรวจสอบยอดรวม AIS Point ได้ที่ App My AIS ขยะอิเล็กทรอนิกส์ 1 ชิ้นมีค่า 5 คะแนน โดย 1 หมายเลขสามารถรับ AIS Points ได้สูงสุด 5 สิทธิ์/โครงการ
ตลอดหลายปีที่ผ่านมา เอไอเอสดำเนินกิจกรรมลดผลกระทบทางธุรกิจต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่มีการจัดเก็บข้อมูลจากปี 2559 เป็นต้นมา สามารถกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธีตามมาตรฐานระดับโลกได้แล้วกว่า 710 ตัน
สำหรับลูกค้าเอไอเอสนำขยะมาทิ้งจะได้รับ AIS Points แต่หากไม่ได้เป็นลูกค้าเอไอเอส ก็สามารถเอามาทิ้งได้ เพื่อร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อม โดยขณะนี้มีจุดทิ้งทั้งสิ้นกว่า 2,000 จุดทั่วประเทศ
ก่อนทิ้ง แนะนำลูกค้าปฏิบัติตามหลักสากล 3 ขั้นตอน คือ 1. ลบข้อมูลและภาพออกจากโทรศัพท์หรือแท็บเล็ต (Format and Factory Reset) 2. ถอดเมมโมรี่การ์ดออกทุกครั้ง 3.หากโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต แบตเตอรี่มือถือ และพาวเวอร์แบงก์ มีลักษณะผิดปกติ เช่น บวม หรือ เปลี่ยนสี ให้นำไปแช่น้ำทิ้งไว้ ประมาณ 5 ชั่วโมง เพื่อลดประจุพลังงาน และนำใส่ถุงหรือห่อกระดาษก่อนนำไปทิ้ง
ตรวจสอบทุกอย่างครบ ปลอดภัย ทิ้งได้อย่างสบายใจแถมรับพอยท์ฟรีกลับบ้าน ทิ้งได้ตั้งแต่วันนี้ – 31 ต.ค. 2563