ก้าวสู่ปีที่ 25 “กิฟฟารีน” อันดับหนึ่ง MLM ไทย กุมหัวใจสมาชิกกว่า 7.9 ล้านรหัส

หากนึกถึงแบรนด์ธุรกิจขายตรงคนไทยที่มีชื่อเสียงและเป็นต้นแบบธุรกิจขายตรงที่ดีงาม ต้องยกให้ขายตรงไทยเบอร์ 1 “กิฟฟารีน” (Giffarine) ที่อยู่คู่คนไทยมานาน กุมทัพบริหารโดย “คุณหมอต้อย- พญ.นลินี ไพบูลย์” ประธานกรรมการ บริษัท กิฟฟารีน สกายไลน์ ยูนิตี้ จำกัด และวันนี้กิฟฟารีนสามารถครองใจส่งความสุข ความสำเร็จให้กับนักธุรกิจกิฟฟารีนกว่า 7.4 แสนรหัส มอบความพึงพอใจให้กับสมาชิกผู้บริโภคกว่า 7.9 ล้านรหัส แล้วสิ่งใดที่ทำให้ขายตรงกิฟฟารีน สามารถเข้าไปกุมหัวใจผู้คนนับแสน นับล้านได้เราไปหาคำตอบกัน!!

ตลอดระยะเวลา 24 ปี นับตั้งแต่การก่อตั้ง บริษัท กิฟฟารีน สกายไลน์ ยูนิตี้ จำกัด จวบจนทุกวันนี้ผลลัพธ์จากการสร้างคุณภาพ ชีวิตที่ดีให้แก่คนไทยและมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สังคมไทย ทำให้กิฟฟารีนเติบโตทุกปีมาพร้อมกับความสำเร็จที่จับต้องได้จริง นั้นก็คือ

  • ผลประกอบ ตลอดระยะเวลา 24 ปี กิฟฟารีน มีรวมทั้งสิ้น 87,329 ล้านบาท
  • มอบเงินปันผลให้แก่นักธุรกิจ 39,072 ล้านบาท
  • คืนกำไรสู่สังคม 157 ล้านบาท
  • มีจำนวนสมาชิก 7.9 ล้านรหัส
  • มีจำนวนนักธุรกิจ 7.4 แสนรหัส
  • สำนักงานธุรกิจ 105 สาขา
  • จำนวนพนักงาน 1,800 คน

โรงงานผลิตสุดยิ่งใหญ่รองรับตลาดโต

สำคัญกว่าตัวเลข “กิฟฟารีน” ได้ตอกย้ำความมั่นใจทางธุรกิจอย่างยั่งยืนตั้งแต่แรกเริ่ม ด้วยการเทหมดหน้าตักเปิดโรงงานการผลิตใหญ่งบลงทุนถึง 800 ล้านบาท ตั้งอยู่บนเนื้อที่กว่า 30 ไร่ ในนิคมอุตสาหกรรมนวนคร เพื่อใช้เป็นฐานการผลิตเครื่องสำอาง อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ กลุ่มยาแผนโบราณ ผลิตภัณฑ์สปา และอโรมาเธอราพี ป้อนตลาดทั้งในและต่างประเทศกว่า40 ประเทศทั่วโลก สามารถรองรับการผลิตได้ถึง 20,000,000 ชิ้น/เดือน รองรับยอดขายได้ถึง 20,000 ล้านบาท/ปี ดำเนินงานโดยบุคลากรมืออาชีพกว่า 1,000 คน และที่สำคัญเป็นโรงงานรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย โดยโรงงานในกลุ่ม บริษัทกิฟฟารีน ประกอบไปด้วย 3 บริษัท ได้แก่

  1. บริษัท สกายไลน์ แลบบอราทอรี่ จำกัด
  2. บริษัท สกายไลน์ เฮลท์แคร์ จำกัด
  3. บริษัท กิฟฟารีน สกายไลน์ แลบบอราทอรี่ แอนด์ เฮลท์แคร์ จำกัด

ต่อมาเพื่อรองรับการเติบโตตลาดอนาคต ในปี 2555 กิฟฟารีนได้ขยายกำลังการผลิตด้วยการลงทุนเปิดโรงงานผลิตอาหาร และเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ในชื่อ บริษัท แฮปปี้ กิฟ จำกัด ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมนวนคร เนื้อที่กว่า 5 ไร่ และล่าสุดในปี 2557 ได้เสริมทัพกำลังการผลิตด้วยการลงทุนเป็นเจ้าของโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม ชื่อ บริษัท เฮลท์ฟู้ด ครีเอชั่น จำกัด และ บริษัท คอสเมติค ครีเอชั่น จำกัด โรงงานตั้งอยู่จังหวัดปทุมธานี บนพื้นที่อีก 10 ไร่

สินค้ามีจำนวนกว่า 2,000 รายการ

ด้วยศักยภาพความพร้อมนี้ ทำให้ปัจจุบันธุรกิจขายตรงกิฟฟารีน มีผลิตภัณฑ์คุณภาพจำนวนกว่า 2,000 รายการ โดยสินค้าที่ครองใจผู้บริโภคมาอย่างยาวนาน และสร้างชื่อเสียงให้กับกิฟฟารีนและหลายคนรู้จักกันดี ได้แก่ เครื่องดื่มสมุนไพร กิฟฟารีน ปัณจะ ภูตะ, เครื่องดื่มน้ำทับทิม กรานาดา, ผลิตภัณฑ์ดูแลรูปร่างกิฟฟารีน ดีพ มารีน เวย์ ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวกลุ่มกิฟฟารีน เมอร์ริเนี่ยน โอลีฟ และยุคสมัยใหม่นี้ต้องยกให้ความแรงของ “กิฟฟารีน ไฮยา” กวาดรายได้ถล่มทลาย

จากจุดยืนความมุ่งมั่นในการมีส่วนร่วมรับผิดชอบและสร้างสรรค์สังคมไทยมาโดยตลอด มาจากเจตนารมณ์อันแน่วแน่ที่ “คุณหมอต้อย- พญ.นลินี” กล่าวย้ำเสมอว่า กิฟฟารีนยังคงมอบโอกาสให้ทุกๆ คนก้าวเข้ามาเป็นเจ้าของกิจการของตนเอง มีโอกาสได้สร้างสิ่งในสิ่งที่ตนเองเป็นเจ้าของ และเป็นเจ้าของในสิ่งที่ตนเองสร้าง เป็นธุรกิจที่ยั่งยืนส่งต่อเป็นมรดกแก่คนที่รักได้

ความภูมิใจสูงสุดของดิฉันในวันนี้ คือ โอกาสที่ได้ทำให้คนไทยหลายแสนคน มีกำลังใจที่จะเป็นคนดี

ก้าวผ่านทุกวิกฤติ สู่ปีที่ 25

วันนี้ขายตรง “กิฟฟารีน” ดำเนินธุรกิจก้าวสู่ปีที่ 25 หากเปรียบกับวัยอายุของคนก็เข้าสู่วัยเบญจเพสตามความเชื่อก็ต้องระมัดระวังดูแลตัวเองอย่างดี แต่สำหรับกิฟฟารีน เรียกได้ว่ามาเหนือดวง เพราะทุกย่างก้าวไม่ว่าช่วงเวลาวัยใดไม่เคยประมาท แม้แต่วินาทีเดียว เช่นกันกับแผนรุกตลาดท่ามกลางมรสุมลูกใหญ่ที่กิฟฟารีนได้ตั้งรับไว้ล่วงหน้า ผ่านการให้สัมภาษณ์ “พงศ์พสุ อุณาพรหม” ผู้อำนวยการใหญ่สายงานการตลาด บริษัท กิฟฟารีน สกายไลน์ ยูนิตี้ จำกัด

“พงศ์พสุ” กล่าวว่า ปัจจุบันกิฟฟารีน ดำเนินธุรกิจก้าวสู่ปีที่ 25 รูปแบบการทำงานเปลี่ยนไปตามยุคสมัยในอดีตเป็นการสื่อสารแบบเจอหน้ากัน มาเป็นพูดคุยทำงานผ่านระบบออนไลน์ ทั้งการอบรม การให้บริการทำให้อุปสรรคการทำธุรกิจลดลง แต่ขณะเดียวกันออนไลน์ทำให้เกิดคู่แข่งตลาดมากขึ้นมีกลุ่มนักลงทุน เข้ามาแย่งส่วนแบ่งการตลาดขายตรง

อย่างเช่น กลุ่มสร้างแบรนด์สินค้าตัวเองโดยเฉพาะครีมต่างๆ หรือเสริมอาหารได้รับความนิยมสูง มีตัวแทนจำหน่าย มีการรีครูทผ่านระบบออนไลน์ และมีการจ่ายผลตอบแทนต่างๆ ใกล้เคียงกับขายตรง รวมถึงแนวคิดที่เปลี่ยนไปจากเดิมก่อนหน้านี้อยากหารายได้เสริมต้องงานขายตรง แต่ทุกวันนี้ขายแบบไหนก็ได้ในออนไลน์ สร้างรายได้ที่ มากกว่าคำว่าขายตรง เกิดช่องทางหาสร้างรายได้มากกว่าในอดีต เหล่านี้เป็นโจทย์หินที่ทำให้กิฟฟารีนทำงานอย่างหนักในเวลานี้

 

ปรับตัวเข้ากับทุกไลฟ์สไตล์

จากโจทย์หินนี้ ทำให้แนวทางการทำงานของกิฟฟารีนจากนี้ไปต้องเข้าให้ถึงไลฟ์สไตล์ทุกกลุ่มเจเนอเรชั่น จากจุดเริ่มต้นกิฟฟารีนยึดแนวทางธุรกิจสินค้าดี แผนธุรกิจดี ระบบการบริหารสมาชิกน่าเชื่อถือ แต่มายุคปัจจุบันนี้สินค้าต้องเข้ากับทุกไลฟ์สไตล์ผู้บริโภค เพราะเรากำลังถูกโลกดิสรัป เพราะฉะนั้นทุกการปรับตัวของกิฟฟารีนเราไม่ได้มองใกล้แล้วจึงเปลี่ยน แต่เราได้เตรียมการ หรือมองการณ์ไกลด้วยการปรับตัวเองตระเตรียมทุกอย่างรองรับล่วงหน้า 4-5 ปี

เฉกเช่นวันนี้ เมื่อ 20 ปีที่แล้ว แนวทางการทำงานแบบเดิมเราก็ยังคงรักษาไว้ ขณะเดียวกันก็ต้องสร้างวิธีคิด การทำงานแบบใหม่ โดยยึดหลัก

  1. การบริหารต้นทุน จากเดิมขับรถส่งสินค้าไกลแค่ไหนก็ไปเพื่อสร้างความผูกพันความรักและศรัทธา แต่ทุกวันนี้กิฟฟารีน เน้น “การบริหารต้นทุน” ไปจุดเดียวแต่สามารถกระจายสินค้าได้จำนวนมาก หรือการจัดส่งผ่านระบบเดลิเวอรี่ เป็นต้น
  2. รองรับการทำงานด้วยเครื่องมือสมัยใหม่ เช่น การจัดประชุมผ่านระบบออนไลน์ การสร้างช่องทางใหม่ขายผ่านช่องทาง E-marketplace ให้สมาชิกที่ผ่านคุณสมบัติ สามารถสมัคร E-business Member หรือการเปิดร้านค้า ใน E-marketplace ได้เกิดขึ้นภายใต้กฎจรรยาบรรณ การทำงานที่ถูกต้องที่กิฟฟารีนสามารถควบคุมดูแลได้

10 เดือนยอดขายโต 10%

ปัจจุบันธุรกิจขายตรงกิฟฟารีน มีศูนย์ให้บริการ 105 สาขา ยังไม่มีนโยบายขยายเพิ่มและก็ไม่ลดสาขาเช่นกัน แต่จะใช้วิธีการให้บริการที่เปลี่ยนไปผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ส่งผลให้ปัจจุบันยอดขายออนไลน์อยู่ที่ 30% ออฟไลน์ 70% ขณะที่ผลประกอบการปีนี้ 2563 ในช่วง 10 เดือนแรก กิฟฟารีนเติบโต 10% กุมหัวใจคนรุ่นใหม่เพิ่ม 30%

อย่างไรก็ตาม เมื่อตลาดออนไลน์บูมพร้อมๆกับการปรับตัวของกิฟฟารีน ทำให้วันนี้นักธุรกิจคนรุ่นใหม่เพิ่ม 30% จากเดิม 20% รวมถึงการเกิดใหม่ทายาทนักธุรกิจ

“วันนี้กิฟฟารีนเติบโตกว่า 2 ทศวรรษ เป็นช่วงของการส่งไม้ต่อหรือการเกิดใหม่ของกลุ่มทายาทนักธุรกิจกิฟฟารีนได้เข้ามาสานต่อมาทำธุรกิจมากขึ้นและทำงานตามความถนัด อย่างเช่นนักธุรกิจรุ่นคุณพ่อคุณแม่ คนกลุ่มเดิมเน้นการทำงานแบบออฟไลน์ ขณะที่กลุ่มทายาท หรือกลุ่มนักธุรกิจคนรุ่นใหม่ก็สนุกกับการทำออนไลน์ ตามยุคสมัยที่เปลี่ยนไปแต่ทุกคนมีเป้าหมายเดียวกันของการสร้างรายได้คุณภาพชีวิตที่มั่นคงให้เกิดขึ้นกับตัวเองและครอบครัว”  พงศ์พสุ กล่าวทิ้งท้าย