- 71% ของกลุ่มตัวอย่างในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บอกว่าพวกเขามีสุขภาพการนอนที่แย่ลงเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งส่งผลเสียต่อการทำงาน การเข้านอน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความสามารถในการนอน
- ในปีพ.ศ.2563 พบว่าประชากรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีเวลาในการนอนเพิ่มขึ้นเฉลี่ย
2 ชม. ต่อคืน แต่กว่า 41% บอกว่าพวกเขายังรู้สึกไม่พึงพอใจต่อคุณภาพการนอน - ประชากรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้เปิดรับการใช้เทคโนโลยี เทเลเฮลท์ (Telehealth) และการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพและการนอนหลับบนออนไลน์มากขึ้น แต่ความกังวลยังคงขัดขวางการเข้ารับการตรวจภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับอยู่
รอยัล ฟิลิปส์ (NYSE: PHG, AEX: PHIA) ผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการดูแลสุขภาพระดับโลก เผยสถิติใหม่จากผลสำรวจประจำปีเกี่ยวกับการนอนหลับครั้งที่ 6 เนื่องในวันนอนหลับโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 19 มีนาคม ในหัวข้อ “Seeking Solutions: How COVID-19 Changed Sleep Around the World” พบว่าการระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้คนทั่วโลก ไม่เพียงแต่เรื่องระบบทางเดินหายใจเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อสุขภาพการนอนอีกด้วย จากการสำรวจข้อมูลด้านการนอนหลับของกลุ่มตัวอย่างในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกพบว่ากว่าสองในสามหรือ 71% มีสุขภาพการนอนที่แย่ลงเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19
ประชากรในภูมิภาคต่างเผชิญกับภาวะการนอนที่ไม่มีคุณภาพ
โดยสาเหตุอันดับแรกของการนอนไม่หลับมาจาก ความเครียดและวิตกกังวล (21%) รองลงมาคือ การใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต (17%) และสภาพแวดล้อมของการนอน (16%) ความเครียดและวิตกกังวลที่ส่งผลต่อคุณภาพการนอนอันดับแรก คือ ความวิตกกังวลเกี่ยวกับเรื่องการเงิน (54%) รองลงมาคือ เรื่องการทำงาน (52%) ต่อมาคือสุขภาพของตนเองและคนในครอบครัว (38%) และเรื่องภายในครอบครัว (34%) แต่ที่น่าสนใจคือ กว่า 42% ยังคงมีความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังไม่มีทีท่าจะคลี่คลายในเร็ววัน
โทรศัพท์มือถือ ขัดขวางการนอนหลับอย่างมีคุณภาพ
นอกจากนี้ ผู้คนส่วนใหญ่กว่า 78% ยอมรับว่าการเล่นโทรศัพท์บนเตียงเป็นสาเหตุที่ทำให้พวกเขานอนหลับช้าลง โดยพวกเขามักใช้เวลาไปกับการดูโซเชียลมีเดียต่างๆ (75%) ดูวิดีโอ (67%) เช็คอีเมล (39%) ส่งข้อความ (37%) และติดตามข่าวสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 (45%)
ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่เพื่อยกระดับคุณภาพการนอนหลับ
เพื่อให้เกิดการนอนที่มีคุณภาพมากขึ้น ประชากรในเอเชียแปซิฟิกได้มีการใช้วิธีต่างๆ เพื่อช่วยปรับพฤติกรรมการนอนหลับให้ดีขึ้น ทั้งการใช้ดนตรีบำบัด (41%) การอ่านหนังสือ (50%) ดูโทรทัศน์ (39%) การเข้านอนและตื่นนอนเป็นเวลา (35%) ลดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน (25%) รวมถึงการใช้เครื่องมือตรวจจับภาวะการนอนหลับ (18%)
อย่างไรก็ตาม จากการระบาดของโควิด-19 ส่งผลดีต่อการผลักดันให้ประชากรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกตระหนักถึงความสำคัญของการนอนหลับมากขึ้น พร้อมทั้งหันมาใช้ระบบเทเลเฮลท์ และการเข้าถึงข้อมูลทางออนไลน์มากขึ้น เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาด้านการนอนให้ตัวเอง โดยพบว่ากว่า 50% ได้ใช้เทคโนโลยีเทเลเฮลท์เป็นครั้งแรกเพื่อทำการนัดหมายเข้าปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 โดย 62% ของผู้ที่ใช้เทเลเฮลท์รู้สึกพึงพอใจอย่างมาก และพวกเขาบอกว่าจะยังคงใช้เทคโนโลยีเทเลเฮลท์ต่อไปในอนาคต หากพวกเขาต้องการคำปรึกษาหรือตรวจสอบคุณภาพการนอนอีกด้วย
จากปัญหาเรื่องการนอนหลับที่เพิ่มขึ้น ทำให้ประชากรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเข้ารับการปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับ (45%) เข้าปรึกษาแพทย์ประจำตัว (41%) ค้นหาข้อมูลสุขภาพออนไลน์ และบนเว็บไซต์ต่างๆ (41%) แล เลือกปรึกษาผู้เชี่ยวชาญผ่านระบบเทเลเฮลท์ (40%)
ตรวจสอบคุณภาพการนอนอย่างใกล้ชิด เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงด้านการนอน
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เกิดจากการอุดกั้นของทางเดินหายใจขณะนอนหลับ ทำให้อากาศไม่สามารถผ่าน หรือผ่านได้น้อยส่งผลให้เกิดภาวะออกซิเจนในเลือดลดลง มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูงขึ้น ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ จากสถิติพบว่า คนไทยมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับอยู่ที่ 11.4% โดยอาการที่เด่นชัดของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คือ อาการนอนกรน และมีเสียงกรนที่เหมือนคนหยุดหายใจเป็นพักๆ โดยอุบัติการณ์ของอาการนอนกรนในคนไทย พบอยู่ที่ 26.4%[1] นอกจากนี้ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับยังทำให้ผู้ป่วยนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ จึงมีอาการเพลียตอนตื่นนอน และง่วงตอนกลางวัน และหากมีอาการรุนแรงอาจอันตรายถึงเสียชีวิตได้อีกด้วย
หากต้องการทราบถึงข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลสำหรับ Global Sleep Survey และนวัตกรรมเพื่อการนอนหลับจากฟิลิปส์ สามารถติดตามได้ที่ Philips.com/WorldSleepDay
[1] บทความอาการนอนกรน และ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ, รศ.นพ.ปารยะ อาศนะเสน สาขาโรคจมูกและโรคภูมิแพ้ ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล