หลายปีที่ผ่านมาไต้หวัน ถือเป็นพื้นที่ที่มีพัฒนาการด้านเทคโนโลยีและปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI อย่างโดดเด่นที่สุดอีกแห่งหนึ่งของโลก ไต้หวันมีแผนพัฒนาบุคลากรด้าน AI หรือ AI Talent ปีละนับหมื่นคน มีนวัตกรรมที่ประยุกต์ใช้กับศาสตร์อื่นๆ รวมถึงการนำมาใช้เฝ้าระวังผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในปีที่ผ่านมา ล่าสุด บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น และเซเว่น เดลิเวอรี่ จึงได้จับมือ Professor Che-Wei LIN ผู้นำการขับเคลื่อน AI Talent Incubation ของรัฐบาลไต้หวันและอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยแห่งชาติเฉิงกง มาร่วมเป็นอีกหนึ่งวิทยากรและพันธมิตรจัดค่าย Creative AI Camp by CP ALL ปีที่ 3 เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และแนวคิดของประเทศชั้นนำด้าน AI ให้แก่เยาวชนไทยในระดับมัธยมศึกษาและ ปวช.
Prof Che-Wei LIN อาจารย์ประจำสาขา Biomedial Engineering มหาวิทยาลัยแห่งชาติเฉิงกง ประเทศไต้หวัน เล่าว่า การบูรณาการ AI เข้ากับศาสตร์และอุตสาหกรรมต่างๆ จะสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างมากให้กับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมในอนาคต โดยเฉพาะธุรกิจค้าปลีก อุตสาหกรรมการผลิต ไปจนถึงอุตสาหกรรมทางการแพทย์ โดยแนวโน้มจะเป็นลักษณะของการเป็นผู้ช่วยที่ทำงานร่วมกับคน หรือ Human-Computer Cooperation เพื่อช่วยให้งานต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ขณะเดียวกัน ไต้หวันก็เริ่มนำ AI มาใช้ยกระดับสังคมหรือแก้ปัญหาสำคัญต่างๆ เช่น การดูแลและติดตามการกักตัวของกลุ่มเสี่ยงและผู้ติดเชื้อ COVID-19 การวิเคราะห์ COVID-19 ตามระบบขนส่งสาธารณะ ช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา แพลทฟอร์ม AI ของไต้หวันก็สามารถตรวจพบผู้ที่ฝ่าฝืนการกักตัวออกไปท่องเที่ยวข้างนอก ทำให้สามารถดำเนินการจัดการและควบคุมไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดได้อย่างทันท่วงที
“ผมพยายามเล่าให้เยาวชนที่เข้าร่วมค่าย Creative AI Camp by CP ALL เห็นภาพว่า เทรนด์ AI ในอนาคตจะเปลี่ยนโลกได้อย่างไร จะสร้างผลกระทบต่อสังคม หรือ Social Impact อะไรบ้างให้กับโลกใบนี้ ทั้งด้านผลลัพธ์ที่ดีและด้านความเสี่ยง พร้อมทั้งแชร์ประสบการณ์วิธีการคิดค้นหัวข้องานวิจัยใหม่ๆ เกี่ยวกับด้าน Biomedical Engineering และการศึกษาทดลองการใช้ AI ตรวจโรคหัวใจและหลอดเลือดให้แก่เยาวชน เพื่อให้เยาวชนมีความเข้าใจ ความพร้อมในทุกสถานการณ์ และสามารถประยุกต์ใช้ AI ในฐานะศาสตร์ที่ช่วยยกระดับและสร้างสรรค์สังคม” Prof. Che-Wei LIN กล่าว
อย่างไรก็ดี เด็กๆ อาจเริ่มต้นคิดจากปัญหาเล็กๆ หรือปัญหาใกล้ตัวก่อนได้ แล้วจึงต่อยอดสู่การใช้ AI เพื่อแก้ปัญหาสำคัญของสังคมเพิ่มเติม
“ยิ่งมีเรื่องราวหลากหลาย เด็กๆ ยิ่งได้เปิดโลกกว้างยิ่งขึ้น วันนี้ทั้งสิงคโปร์ จีน และไต้หวัน ต่างมีเรื่องราวและเรื่องเล่าของการนำ AI ไปใช้ในการพัฒนาและสร้าง Social Impact ให้กับสังคม เรื่องราวเหล่านี้จะกลายเป็นแรงบันดาลใจที่สำคัญให้เด็กๆ อยากลุกขึ้นมาเรียนรู้เรื่อง AI อย่างจริงจัง และพัฒนา AI เชิงสร้างสรรค์ที่จะช่วยแก้ปัญหาหรือพัฒนาสังคม” ดร.พงส์ศักดิ์ กล่าว
ทั้งนี้ ทั้ง 3 พันธมิตรสถาบันการศึกษาจากสิงคโปร์ จีน และไต้หวัน ตลอดจนสถาบันการศึกษาของไทยอย่างสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ รวมถึง สมาคมกีฬาหมากล้อมแห่งประเทศไทยและชมรมเด็กหมากล้อมจิตอาสา ถือเป็นพันธมิตรที่มีศักยภาพสูงที่จะเข้ามามีส่วนร่วมมอบองค์ความรู้และสร้างแรงบันดาลใจให้แก่เด็กๆ อย่างต่อเนื่องในค่ายครั้งต่อๆ ไปด้วย
1.New Learning Space พื้นที่การเรียนรู้ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับต่อยอดด้าน AI 2.New Creative Community ชุมชนใหม่ที่ร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานด้าน AI และ 3.New Innovations & Solutions นวัตกรรมใหม่ๆ และวิธีการแก้ปัญหาใหม่ๆ ด้วย AI ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาโดยคนในคลับ ขณะที่สำนักปัญญาประดิษฐ์สร้างสรรค์ ตั้งอยู่ที่ ชั้น 4 และ คลับ ตั้งอยู่ที่ชั้น 14A อาคารยูไนเต็ดเซ็นเตอร์ สีลม ผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดได้ที่ https://www.facebook.com/caicamp/