ทาเคดา ประเทศไทย มุ่งผลักดันผู้ป่วยชาวไทย เข้าถึงนวัตกรรมการรักษามากยิ่งขึ้น
นายปีเตอร์ สไตรเบิล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทาเคดา (ประเทศไทย) จำกัด (“ทาเคดา ประเทศไทย”) พูดถึงวิธีที่องค์กรคงไว้ซึ่งหลักสำคัญที่เน้นไปยังเรื่องค่านิยม นวัตกรรม และวัฒนธรรมทางธุรกิจขององค์กร ในการปฎิรูปวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการการรักษามากที่สุด เพื่อพัฒนาการเข้าถึงการรักษาและดูแลสุขภาพประเทศไทย
ทาเคดา (Takeda) ก่อตั้งขึ้นในประเทศญี่ปุ่นเมื่อ 240 ปีก่อน โดยยึดหลักความซื่อสัตย์ของธุรกิจและการสร้างคุณค่าทางสังคม ค่านิยมนี้ยังคงมีความสำคัญเช่นเดิมจนถึงปัจจุบัน ตอนที่ผมมาอยู่เมืองไทยเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ทาเคดาก่อตั้งในประเทศไทยมาแล้วเป็นเวลา 50 ปี ซึ่งในตอนนั้นทีมงานแสดงให้ผมเห็นถึงความผูกพันและแรงจูงใจที่น่าทึ่งที่มีต่อองค์กร เราภูมิใจเป็นอย่างมากกับความสำเร็จที่ตั้งอยู่บนหลักการเหล่านั้นซึ่งได้กลายเป็นค่านิยมของเราและเป็นสิ่งที่เรายึดมั่นมาโดยตลอดจวบจนปัจจุบัน
สิ่งเหล่านี้ทำให้ผมพูดได้อย่างมั่นใจว่าสิ่งที่เราทำเป็นมากกว่าแค่ธุรกิจ แต่เกี่ยวกับการสร้างความแตกต่างให้แก่คนที่ต้องได้รับการช่วยเหลือ เรามีผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่สามารถช่วยเปลี่ยนแปลงชีวิตผู้คนได้ เช่น ผลิตภัณฑ์สำหรับมะเร็งบางชนิดที่พบไม่ได้บ่อยนัก ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องการให้ความสำคัญกับความต้องการทางการแพทย์ที่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง อันสอดคล้องกับค่านิยมและเหตุผลในการก่อตั้งทาเคดา
ค่านิยมนี้เป็นส่วนหนึ่งของรากฐานที่ทาเคดาวางไว้มาตั้งแต่บริษัทก่อตั้งขึ้นเมื่อสองศตวรรษครึ่งที่ผ่านมา ไม่เพียงเท่านี้บริษัทยังคงมุ่งหาวิธีการใหม่ ๆ ที่จะสามารถช่วยเหลือผู้คนยามเมื่อพวกเขาเจ็บป่วยอยู่เสมอ เราตระหนักดีว่าเราไม่สามารถจัดการกับทุกโรคได้เนื่องจากมีโรคต่าง ๆ มากมายที่ต้องได้รับการรักษา
อย่างที่ทราบกันว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถเข้าถึงยาที่อาจช่วยชีวิตและเปลี่ยนแปลงชีวิตเหล่านี้ได้ บางครั้งอุปสรรคเป็นเรื่องของการเข้าถึงการรักษา และอาจมีความซับซ้อนจากการวินิจฉัยหรือปัจจัยอื่น ๆ อีก ทำให้ทาเคดา ประเทศไทย มีโปรแกรมการรักษาแต่ต้นจนจบกระบวนการ (end-to-end) เพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยวกับโรค การวินิจฉัยในระยะแรกเริ่ม และการวินิจฉัยที่ดีขึ้น รวมถึงโปรแกรมช่วยเหลือผู้ป่วย (Patient Assistance Programs) เพื่อให้ผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับภาระค่าใช้จ่ายได้สามารถเข้าถึงการรักษา
นวัตกรรมที่ขับเคลื่อนโดยการวิจัยและพัฒนา
นวัตกรรมและความสามารถในการระบุความต้องการหรือแนวโน้มการรักษาใหม่ได้อย่างชัดเจนคือกุญแจสำคัญ ทาเคดา ประเทศไทย เข้าใจดีว่าเราไม่สามารถหยุดพัฒนาหรือยึดติดอยู่กับความสำเร็จในอดีตได้ ดังนั้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เราได้เปิดตัวนวัตกรรมยารักษามะเร็งปอดและมะเร็งเม็ดเลือด และอีก 5 ปีข้างหน้า เราวางแผนที่จะเปิดตัวนวัตกรรมการรักษาอีกกว่า 15 นวัตกรรมในประเทศไทย
ในฐานะผู้นำด้านชีวเภสัชภัณฑ์ระดับโลกที่ยอดเยี่ยมและขับเคลื่อนด้วยการวิจัยและพัฒนา เราทุ่มเทกับการวิจัยและพัฒนาของเราทั่วโลกเพื่อค้นหาและเชื่อมโยงนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถส่งผลกระทบเชิงบวกต่อชีวิตของผู้ป่วยจำนวนมากขึ้นในอนาคต
หลักการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยของทาเคดาจะมุ่งเน้นการรักษา 4 แขนงหลัก ได้แก่
- ระบบทางเดินอาหาร (Gastroenterology: GI) นวัตกรรมการรักษาโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร รวมถึงการรักษาโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Inflammatory Bowel Disease: IBD) ที่ถูกเปิดตัวไปเมื่อเร็ว ๆ นี้
- โรคหายาก ผู้ป่วยกว่า 300 ล้านคนทั่วโลกเผชิญความทุกข์ทรมานจากโรคหายาก โดยที่การรักษาที่ได้รับการอนุมัติสำหรับโรคหายากนั้นมีเพียงร้อยละ 5 เท่านั้น เรามุ่งเน้นที่กลุ่ม โรคหายากทางภูมิคุ้มกันวิทยา (Rare Immunology) โรคหายากทางโลหิตวิทยา (Rare Haematology) และโรคหายากทางเมตาบอลิซึม (Rare Metabolic)
- มะเร็งวิทยา (Oncology) เรามุ่งเน้นที่มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ปอด และมะเร็งในเลือด เป็นต้น
- กลุ่มผลิตภัณฑ์จากพลาสม่า (Plasma derived therapies)
นอกจากนี้ วัคซีนจะเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่เรามุ่งเน้นในอนาคต โดยทาเคดาได้ประกาศแผนที่จะวางจำหน่ายวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกซึ่งเป็นสิ่งที่เรามองว่ามีผลกระทบอย่างมากต่อประเทศไทยเนื่องจากเป็นโรคที่พบได้มากในประเทศไทย
ไข้เลือดออกเป็นโรคที่ทำให้ร่างกายอ่อนแอมาก และมักต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นเวลาหลายสัปดาห์และอาจมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ภาวะเสียเลือดภายใน หรือในบางกรณีอาจมีอันตรายถึงชีวิต ดังนั้นวัคซีนจะเป็นประโยชน์ในการป้องกันโรคไข้เลือดออกสำหรับคนไทยหลายล้านคน
นอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุขของไทยยังต้องรับมือกับโรคหายากอีกด้วย สิ่งนี้จึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เราให้ความสำคัญด้วยการลงทุนอย่างเต็มที่ รวมถึงทำงานร่วมกับพันธมิตรและผู้เกี่ยวข้องที่สำคัญในการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลไทย
ความท้าทายของโรคหายาก คือผู้ป่วยอาจใช้เวลาหลายปีในการที่จะได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง เนื่องจากแพทย์อาจไม่คุ้นเคยกับลักษณะของโรคหายากมาก่อน และอาจเข้าถึงการรักษาได้ยากแม้ว่าจะได้รับการวินิจฉัยโรคแล้วก็ตาม ด้วยเหตุนี้การร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ เพื่อช่วยกันสนับสนุนและส่งเสริมให้ระบบนิเวศด้านการดูแลด้านสุขภาพแข็งแกร่งยิ่งขึ้นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ทาเคดาจึงทำงานร่วมกับองค์กรต่าง ๆ เช่น มูลนิธิเพื่อผู้ป่วยโรคหายาก (Thai Rare Disease Foundation) องค์กรผู้ป่วยและผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ อีกมากมายที่ทำงานใกล้ชิดกับแพทย์เพื่อช่วยกันสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคหายากให้มากขึ้น
สายสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างไทยและญี่ปุ่น
วัฒนธรรมญี่ปุ่นมีบางอย่างที่เข้ากับประเทศไทยได้เป็นอย่างดี และวัฒนธรรมบางอย่างของทั้งสองประเทศมีคล้ายคลึงกันอย่างมาก นั่นอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้ทาเคดา ประเทศไทย ประสบความสำเร็จมาโดยตลอด ทีมงานชาวไทยของเราต่างก็ชื่นชอบการทำงานที่นี่ พวกเขาดำเนินชีวิตตามค่านิยมและมีส่วนร่วมในพันธกิจของเราในการแสวงหาสุขภาพที่ดีขึ้นและอนาคตที่สดใสขึ้นให้กับผู้คนทั่วโลก (bringing Better Health for People and a Brighter Future for the World)
เป็นระยะเวลากว่า 50 ปีที่มูลนิธิ Takeda Science Foundation ได้มอบทุนการศึกษาให้กับแพทย์ทั่วประเทศในการเดินทางไปศึกษาที่ มหาวิทยาลัยที่ประเทศญี่ปุ่นได้สูงสุด 1 ปี โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการแลกเปลี่ยนกับแพทย์ชาวญี่ปุ่นที่เดินทางมาศึกษาที่ประเทศไทย ทั้งนี้เราเชื่ออย่างยิ่งว่าการแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ และการวิจัยร่วมกัน ทำให้วิทยาศาสตร์มีความแข็งแกร่งมากที่สุด ทาเคดาได้ให้การสนับสนุนแพทย์ไทยกว่า 200 คนจากทั่วประเทศมาตลอด 50 ปีนับตั้งแต่จัดตั้งมูลนิธิขึ้นในประเทศไทย และเราก็มุ่งมั่นที่จะดำเนินโครงการสำคัญนี้ต่อไปในอีกหลายปีข้างหน้า ในขณะที่พัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อการเข้าถึงการดูแลสุขภาพที่ดีขึ้นสำหรับประชาชนไทยทุกคน
แพทย์ในประเทศไทยมีความใส่ใจและได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี แต่ก็ยังมีอีกหลายสิ่งที่ต้องทำให้สำเร็จเพื่อให้คนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงการดูแลสุขภาพที่จำเป็นได้ เพราะผู้ป่วยคือหัวใจหลักของทุกสิ่งที่เราทำเสมอ ทาเคดา ประเทศไทย จึงมุ่งมั่นที่จะผลักดันให้เกิดความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคหายากและโรคที่มีความซับซ้อนให้มากยิ่งขึ้นและเร่งการเข้าถึงนวัตกรรมยาที่แตกต่างและที่ช่วยเปลี่ยนแปลงชีวิตได้นั้นก็เพื่ออนาคตที่ดียิ่งขึ้นของผู้ป่วยในประเทศไทย