อินเตอร์โรล (ประเทศไทย) เสริมทัพนวัตกรรม เร่งเครื่องรองรับตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
บริษัท อินเตอร์โรล (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ให้บริการโซลูชันชั้นนำของโลกสำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบขนถ่ายและลำเลียงวัสดุ ประกาศขยายสายการผลิตสินค้ารุ่นล่าสุด RollerDrive EC5000 หวังเพิ่มผลผลิตและย่นระยะเวลาในการขนส่งสินค้าให้กับลูกค้าธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นับตั้งแต่ช่วงกลางปี พ.ศ. 2562 อินเตอร์โรล (ประเทศไทย) ได้ทำการเปิดโรงงานแห่งใหม่ที่ครบครันด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัย ณ นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร (เฟส 10) จังหวัดชลบุรี บนพื้นที่ทั้งสิ้นกว่า 4,800 ตารางเมตร ซึ่งรวมถึงพื้นที่ส่วนอาคารและสำนักงานที่กว้างถึง 700 ตารางเมตร ที่ได้รับการออกแบบให้มีรูปแบบอันเป็นเอกลักษณ์ของอินเตอร์โรล โดยพื้นที่โรงงานแห่งใหม่นี้ก่อตั้งขึ้นเพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรวมไปถึงพื้นที่ในการขนถ่ายตู้คอนเนเนอร์ขนาดใหญ่เพื่อรองรับการสั่งซื้อ Pallet Flow ล็อตใหญ่จากลูกค้าในภูมิภาคอีกด้วย
เพิ่มขีดความสามารถในการผลิตและย่นระยะเวลาขนส่ง
“ความสะดวกสบายและความมั่นใจของลูกค้าคือหัวใจสำคัญในการทำธุรกิจของอินเตอร์โรล” นายไกรสร นาคะพงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเตอร์โรล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว “เราเลือกโรงงานที่เต็มไปด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัยที่สามารถรองรับกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น เพื่อที่จะช่วยส่งเสริมให้เราสามารถบริหารจัดการระยะเวลาในการขนส่งที่เร็วที่สุด พร้อมข้อเสนอด้านการบริการที่ตอบโจทย์ให้กับลูกค้า”
โดยผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศไทย ได้แก่ Rollers, RollerDrive, Pallet Flow, Drum Motors และ Modular Conveyor Platform (MCP) ขณะที่ผลิตภัณฑ์ตัวล่าสุด อย่าง RollerDrive EC5000 ทาง อินเตอร์โรล (ประเทศไทย) จะเริ่มทำการผลิตในเดือนกันยายน 2564 นี้ เพื่อตอบสนองโซลูชันส์สมาร์ทโลจิสติกส์
EC5000 เทคโนโลยีขั้นสูง 48 โวลต์ สามารถเพิ่มกำลังได้ถึง 3 ระดับ
RollerDrive รุ่น EC5000 มาพร้อมกับเทคโนโลยี 48 โวลต์ ซึ่งใช้พลังงานน้อยกว่าอุปกรณ์รุ่น 24 โวลต์ทั่วไปถึง 50 เปอร์เซ็นต์ สามารถทำงานได้ทั้งในไลน์ขนาดเล็กแบบครอสเช็คชั่น หรือในไลน์ที่มีความยาวก็ได้ ซึ่งช่วยลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น เช่นเมื่อไฟตกในไลน์การผลิต ทำให้ใช้งบประมาณในการลงทุนสำหรับทั้งระบบน้อยลง และยังสามารถลดข้อผิดพลาดในกระบวนการผลิตได้อีกด้วย
“ผลิตภัณฑ์รุ่น EC5000 มอบโซลูชั่นที่ทำให้ลูกค้าสามารถปรับการใช้งานได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้งาน” นายไกรสร เผย ผลิตภัณฑ์ EC5000 เวอร์ชั่น 20W เหมาะสำหรับการขนย้ายวัตถุน้ำหนักเบาหรือภาชนะจัดเก็บที่ว่างเปล่า และยังเป็นโซลูชั่นของสำหรับสายพานลำเลียงที่ใช้ไฟฟ้าน้อย ในขณะที่ EC5000 เวอร์ชั่น 35W มีความคล้ายคลึงกับผลิตภัณฑ์รุ่นก่อนหน้า และเหมาะสมกับการใช้งานด้านการลำเลียงสินค้าเกือบทุกแอพพลิเคชั่น ส่วน EC5000 เวอร์ชั่น 50W เป็นรุ่นที่ทำให้ EC5000 มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ในอดีต ความเร็วของแรงบิดหมายถึงการใช้ EC310 ถึงสองตัว หากแต่ EC5000 เวอร์ชั่น 50W แค่เพียงตัวเดียวก็เพียงพอ ทำให้ใช้ไฟฟ้าและระบบควบคุมเหลือเพียงครึ่งเดียว และเพื่อรองรับการใช้งานหนัก ไม่เพียงแต่อินเตอร์โรลจะมีผลิตภัณฑ์ที่กำลังไฟออกสูง แต่ยังมี RollerDrive ที่มีเส้นรอบวงขนาด 60มม. การออกแบบ IP66 และ Deep Freeze ยังคงอยู่ ทำให้สามารถนำไปใช้งานในพื้นที่ที่ใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงสำหรับทำความสะอาด หรือพื้นที่ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า -30 องศาเซลเซียสได้อีกด้วย
ผลิตภัณฑ์รุ่น EC5000 ยังมาพร้อมกับระบบ Bus Interface ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถจัดเก็บข้อมูลด้านประสิทธิภาพในการทำงาน รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนรอบหรือการปฏิบัติงาน และเมื่อใช้ร่วมกับระบบควบคุมหลายๆ ตัว ของอินเตอร์โรล อย่าง PROFINET, EtherNet/IP และ EtherCat จะช่วยให้ผู้ใช้งานมองเห็นข้อมูลและฟังก์ชั่นการทำงานได้จากหน้าจอผ่าน PLC หรือ web interface
ระบบ Bus interface ขยายขอบเขตแห่งความเป็นสมาร์ท โลจิสติกส์
ระบบ Bus Interface ที่อยู่ใน RollerDrive EC5000 สามารถทำได้มากกว่าการส่งผ่านข้อมูลการปฏิบัติงาน แต่ยังสามารถใช้งานฟังก์ชั่นการควบคุมใหม่ๆ ได้อย่างเต็มรูปแบบอีกด้วย เช่น ฟังก์ชั่นที่ใช้ในระบบออโตเมชั่น เป็นต้น ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถควบคุมการเร่งเครื่อง ความเร็ว และการหยุดทำงานได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้นแล้ว ยังสามารถทำให้จัดวางสินค้าบนสายลำเลียงได้อย่างแม่นยำในระดับมิลลิเมตร ซึ่งเป็นการทำงานที่มีส่วนสำคัญอย่างมากในการทำงานร่วมกับหุ่นยนต์หรือแขนกลได้อย่างไร้รอยต่อ
อินเตอร์โรลดีซีแพลตฟอร์มนี้ สามารถใช้งานกับระบบควบคุม ระบบลูกกลิ้งลำเลียง และระบบจ่ายไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านการต่อสาย ทำให้ผู้ใช้งานสามารถทราบถึงระยะเวลาการทำงานของโซลูชั่นการลำเลียงสินค้า ซึ่งรวมถึงการใช้งานร่วมกับ Interroll Modular Conveyor Platform (MCP) ของอินเตอร์โรล และรวมไปถึงการทำงานของระบบลำเลียงที่ทำงานเองอัตโนมัติโดยไม่ต้องใช้ PLC เพื่อออกแบบให้ระบบมีประสิทธิภาพสูง การทำงานด้านข้อมูลในแอปพลิเคชั่นยุค Industry 4.0 ทำให้ผู้ใช้งานสามารถมอนิเตอร์ระบบควบคุม และซ่อมบำรุง รวมไปถึงระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อีกด้วย