ในวันที่โควิด-19 ทั่วโลก ยังไม่จบ แต่อัตราเงินเฟ้อในอเมริกาเริ่มขยับขึ้น ในขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ เริ่มส่งสัญญาณผ่อนคลายลดลง SCBS Chief Investment Office (CIO) วิเคราะห์ว่ามี 3 ประเด็นหลักที่มีผลต่อแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก (Global Asset Allocation) ประกอบด้วย 1) ความเร็วในการเปิดเมืองยังมีความแตกต่างกันในแต่ละประเทศทำให้การฟื้นตัวมีความแตกต่างกันตามไปด้วย 2) นโยบายภาครัฐโดยเฉพาะในสหรัฐฯ เริ่มผ่อนคลายน้อยลง และ 3) หุ้นกลุ่ม Growth At Reasonable Price (GARP) มีความน่าสนใจมากขึ้น
นายศรชัย สุเนต์ตา กรรมการผู้จัดการ SCBS CIO กล่าวว่า แนวโน้มสำคัญของเศรษฐกิจโลกประกอบไปด้วย การเปิดเมืองยังมีความแตกต่างกัน เศรษฐกิจจีนและสหรัฐฯผ่านจุดเติบโตสูงสุดในขณะที่ยุโรปและญี่ปุ่นเริ่มฟื้นชัด และ นโยบายภาครัฐเริ่มผ่อนคลายลดลง โดยในรายละเอียดการเปิดเมืองยังมีความแตกต่างกันตามคาดความคืบหน้าการฉีดวัคซีน โดยเศรษฐกิจจีนและสหรัฐฯผ่านจุดเติบโตสูงสุดในขณะที่ยุโรปและญี่ปุ่นเริ่มฟื้นตัวต่อเนื่อง ในขณะที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ Emerging Markets (EMs) ยังแตกต่างกันมาก ความกังวลเรื่องเงินเฟ้อเริ่มผ่อนคลายลงหลังราคาสินค้าโภคภัณฑ์ชะลอลงและท่าทีของ Fed ที่มีแนวโน้มพร้อมปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเร็วกว่าคาด (Hawkish) โดยตัวเลขตลาดแรงงานและการสื่อสารของ Fed จะมีความสำคัญต่อตลาดมากขึ้น เราคงมุมมอง Fed ส่งสัญญาณแบบค่อยเป็นค่อยไปในการทำ QE taper ในช่วงปลายไตรมาส 3/2021F และขึ้นดอกเบี้ยในช่วงครึ่งแรกปี 2023F นอกจากนั้น แรงกระตุ้นทางการคลังเริ่มแผ่วลงในกลุ่ม Developed Markets (DMs) โดยเฉพาะในสหรัฐฯ อย่างไรก็ตามขนาดของโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่เล็กกว่าคาดจะทำให้การขึ้นภาษีเพื่อโครงการเหล่านั้นน้อยกว่าคาดด้วย โดยปัจจัยเสี่ยงหลักในไตรมาสที่ 3/2021 ประกอบด้วย 1) Fed ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด2) ความเสี่ยงด้านนโยบายต่อบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ และ 3) การกลับมาของความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างสหรัฐฯ และจีน
สำหรับแนวโน้มตลาดการเงินโลก SCBS CIO ประเมินว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรขยับขึ้นอย่างช้าๆ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีแนวโน้มฟื้นตัว และราคาสินค้าโภคภัณฑ์เริ่มชะลอลงจากอุปทานที่ฟื้นตัว โดยจากเศรษฐกิจและเงินเฟ้อที่กำลังจะผ่านจุดเติบโตสูงสุด และสัญญาณการปรับนโยบายแบบค่อยเป็นค่อยไปของ Fed น่าจะทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรเพิ่มขึ้นแบบช้าๆ โดยเฉพาะพันธบัตรระยะยาว ซึ่งจะทำให้ yield curve ของสหรัฐฯ มีลักษณะแบบ flattening ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีแนวโน้มฟื้นตัว อย่างน้อยจนกว่า ECB จะปรับท่าทีแบบผ่อนคลายนโยบายน้อยลง โดยจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ฟื้นตัวบวกกับอุปทานที่ฟื้นตัว ราคาสินค้าโภคภัณฑ์น่าจะเริ่มชะลอลง ยกเว้นสินค้าที่ต้องใช้เวลาในการเพิ่มอุปทาน เช่น semiconductors.
- ด้วยอัตราเงินเฟ้อและอัตราผลตอบแทนที่ยังปรับขึ้นแม้จะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป เรายังคงชอบหุ้นมากกว่าพันธบัตรและเงินสด
- เรายังคงเน้นการลงทุนในหุ้นกลุ่ม DM โดยเฉพาะในยุโรปและสหรัฐฯ และปรับน้ำหนักหุ้นกลุ่ม value/growth เป็น 40/60 โดยเน้นหุ้นกลุ่ม Growth At Reasonable Price (GARP หุ้นกลุ่มเติบโตที่มีมูลค่าสมเหตุสมผล)
- ความกังวลเรื่อง QE taper อาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อหุ้นในกลุ่ม EMs โดยเฉพาะประเทศที่มีการขาดดุลการคลังและดุลบัญชีเดินสะพัดสูง (large twin deficit)
- คงมุมมอง slightly positive จากมูลค่าที่น่าสนใจต่อหุ้นจีนและญี่ปุ่น นอกจากนั้นเราเชื่อว่าตลาดหุ้นจีนได้มีการ priced-in ความเสี่ยงด้านนโยบายไปบ้างแล้ว โดยเน้นกลยุทธ์การลงทุนแบบ selective buy ส่วนการฟื้นตัวของหุ้นญี่ปุ่นน่าจะเริ่มชัดเจนขึ้นตามความคืบหน้าการฉีดวัคซีนที่กำลังดีขึ้น
- คงมุมมองเวียดนามยังคงเป็นตลาดที่น่าสนใจลงทุนที่สุดใน ASEAN เราปรับมุมมอง SET เป็น slightly positive จากมูลค่าหุ้นที่กลับมาน่าสนใจโดยเน้นกลยุทธ์การลงทุนแบบ selective buy
- จากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่เริ่มฟื้นตัว และอุปทานที่เริ่มกลับมา เราปรับมุมมองน้ำมันเป็น Neutral
คงมุมมองต่อ DM REITs เป็น slightly negative เนื่องมูลค่าที่ตึงตัวและความกังวลการกลับมาขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าคาดของ Fed อย่างไรก็ตาม เรายังคงมุมมอง slightly positive กับ Asian REITs จากความคืบหน้าในการเปิดเมืองในช่วงครึ่งหลังปี 2021F มูลค่าที่ยังน่าสนใจ และการขึ้นดอกเบี้ยที่น่าจะช้ากว่าในกรณีของประเทศ DMs