- สร้างยอดขายรวมเติบโต 272% ชู Social Commerce เสริมแกร่งผู้ประกอบการรายย่อยรับมือล็อกดาวน์
- เผยรายได้เฉลี่ยต่อร้านค้าเดือนละ 150,000 – 500,000 บาท
- เผยสถิติยอดขายสินค้าสุขภาพและความงามพุ่งสูงถึง 35% ในช่วงโควิดระลอกใหม่
LINE SHOPPING หนุนผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อย และคนไทยรับมือสถานการณ์ COVID-19 เผยตลาด Social Commerce คือ “โอกาส” ให้ธุรกิจไม่ตันไม่ตาย พร้อมสานต่อกลยุทธ์ Chat Commerce กระตุ้นการซื้อขายสินค้าออนไลน์บน LINE SHOPPING ที่ปัจจุบันมีร้านค้ากว่า 200,000 ร้านค้า และมีจำนวนผู้ใช้งานกว่า 7 ล้านราย เติบโตเป็น 2 เท่าจากปีที่ผ่านมา ล่าสุดตัวเลขยอดสมัครเปิดร้านโต 7 เท่า เปรียบเทียบเดือนเมษายน 2563 ถึงเดือนเมษายน 2564 พร้อมแนะแนวทางธุรกิจรายย่อยพลิกวิกฤติเป็นโอกาสสู่หนทางแห่งอนาคตในแบบฉบับ LINE SHOPPING
นายเลอทัด ศุภดิลก หัวหน้าฝ่ายธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ LINE ประเทศไทย กล่าวว่า “สถานการณ์ COVID-19 ที่เริ่มมาตั้งแต่ช่วงปี 2563 จนถึงในปัจจุบัน ได้เปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตของคนไทยแตกต่างไปจากเดิม โดยเฉพาะตอนนี้ที่หลายธุรกิจกำลังได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์และมองหาโอกาสเพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำธุรกิจ โดย LINE SHOPPING ยังคงยึดมั่นในพันธกิจที่ต้องการทำให้การซื้อขายบนโลกออนไลน์เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น โดยเฉพาะ Social Sellers บน LINE SHOPPING ส่วนใหญ่ล้วนเป็นธุรกิจของผู้ประกอบการรายย่อย (Micro Business) ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัวด้วยเป็นธุรกิจที่สร้างขึ้นจาก Passion มีความคิดสร้างสรรค์ คล่องตัวสูง และมีเงินทุนที่จำกัด LINE SHOPPING เล็งเห็นคุณค่าและความสำคัญของธุรกิจรายย่อย ซึ่งเป็นรากฐานของเศรษฐกิจ และมีส่วนสร้าง GDP ให้กับประเทศถึง 34.7% จึงวางกลยุทธ์ในการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อให้ตอบโจทย์ผู้ประกอบการขนาดย่อย หรือ Micro Business โดยการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยกลยุทธ์ 3 แกนหลัก ได้แก่
- Freedom of Entrepreneurship ช่วยผู้ประกอบการรายย่อยสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด และแข่งขันกับ e-marketplace ได้
- Lower Cost of Doing Business ให้บริการช่องทางการขายฟรี ง่ายและสะดวก บนแพลตฟอร์ม LINE ที่มีผู้ใช้กว่า 49 ล้านคน ลงทุนน้อย ขายได้รวดเร็ว พร้อมเสาะหาพันธมิตรที่มีวิสัยทัศน์สอดคล้องกัน อาทิ การร่วมมือกับบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด คิดค่าส่งสินค้าเริ่มต้นที่ 19 บาท
- Increase Connection Between Business and People สร้างการมีส่วนร่วมระหว่างนักช้อปกับผู้ขาย ซึ่งการสร้าง Engagement ถือเป็นเสน่ห์ของ Social Commerce ที่ทำให้นักช้อปและผู้ขายบนแพลตฟอร์มมีพื้นที่ในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการทำธุรกิจในระยะยาว”
ในปีที่ผ่านมา LINE SHOPPING ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีจำนวนร้านค้าหลั่งไหลเข้าสู่แพลตฟอร์มเติบโตถึง 7 เท่า หรือ 64% ปัจจุบันมีจำนวนร้านค้าถึง 200,000 ร้านค้า มีจำนวนลูกค้า (Buyer) สูงถึง 7 ล้านราย โดย 5 กลุ่มสินค้าที่ขายดีที่สุด ได้แก่ แฟชั่น สุขภาพและความงาม อาหารและเครื่องดื่ม เครื่องใช้ภายในบ้าน และไอทีแกดเจ็ต ด้วยรูปแบบ Social Commerce ที่คนไทยคุ้นชิน สามารถให้ผู้ขายและผู้ซื้อพูดคุย (Chat) สอบถามรายละเอียดแบบเรียลไทม์ จึงเป็นเสมือนกุญแจสำคัญที่เป็นโอกาสทางธุรกิจในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ให้ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายย่อยสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างไม่มีสะดุด และอีกความพิเศษคือ การนำเอา LINE POINTS มาจัดแคมเปญกระตุ้นการซื้อ ซึ่งนอกจากเป็นการช่วยให้ร้านค้าเป็นที่รู้จักมากขึ้นแล้ว ยังสามารถเพิ่ม Basket Size ได้ถึง 50% และ เพิ่มอัตราการกลับมา ซื้อซ้ำถึง 12% นอกจากนี้ LINE SHOPPING ยังเผยข้อมูลที่ซึ่งสะท้อนพฤติกรรมที่น่าสนใจของผู้ใช้ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาที่คนนิยมซื้อของมากที่สุด อยู่ในช่วงเวลา 12:00 น. และ 20:00 น. นักช้อป 80% ชำระเงินโดยการโอนเงินผ่านธนาคาร และ 20% ชำระผ่านเครดิตการ์ดและ Rabbit LINE Pay
ทั้งหมดนี้สะท้อนถึงศักยภาพของ LINE SHOPPING ที่เป็นทั้งทางรอดในสถานการณ์ล็อกดาวน์สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อยที่เป็นภาคธุรกิจที่มีความพิเศษเฉพาะตัว และเป็นทั้งแหล่งรวมร้านค้าโซเชียล ที่ให้นักช้อปได้สนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อยของไทย แนวทางการพัฒนาของ LINE SHOPPING ที่ยึดมั่นพันธกิจในการผลักดันผู้ประกอบรายย่อยให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปและสามารถแข่งขันได้ จึงเป็นการตอกย้ำความเป็นผู้นำแพลตฟอร์ม Social Commerce ตัวจริงที่มีส่วนช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทยให้ก้าวต่อไปได้อย่างไม่มีสะดุดอีกด้วย