ภาระหนี้จะตกอยู่ที่ใคร ถ้าคนที่กู้เสียชีวิต? มาทำความเข้าใจ ก่อนทิ้งมรดก(หนี้) ไว้ให้คนข้างหลัง

เรื่องนี้ไม่ยากอย่างที่คิด ปัจจุบันเมื่อมีการกู้ ผู้ให้กู้ก็จะเสนอให้ทำ ‘ประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ’ ซึ่งมักได้รับการปฎิเสธทันที เพราะผู้กู้ไม่เข้าใจว่าทำไปแล้วได้อะไร? ทำแล้วก็ต้องมาแบกภาระเงินประกันอีก? นั่นคือความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องของผู้กู้ แต่เมื่อผู้กู้เข้าใจ จะรู้ว่าการกู้และมี‘ประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ’ นั้นมีประโยชน์มากมาย สรุปง่ายๆ คือ ภาระวงเงินกู้ตกเป็นของบริษัทที่รับประกันวงเงินสินเชื่อทันที

นอกจากนี้ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับผลประโยชน์ที่ระบุยังสามารถได้รับเงินส่วนต่างหลังหักชำระหนี้ทั้งหมด และหลักทรัพย์ที่นำมาใช้ในการกู้ยังคงเป็นของทายาทโดยธรรมของผู้กู้เหมือนเดิมทุกประการ

ดังนั้นประโยชน์ในการทำ ‘ประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ’ จึงไม่เพียงเกิดประโยชน์กับเฉพาะ ผู้ให้กู้(สถาบันการเงิน) แต่ยังดีสำหรับ ผู้เอาประกันภัย(ผู้กู้) และทายาทโดยธรรมของผู้กู้อีกด้วย โดยความคุ้มครองขึ้นอยู่กับแผนประกันที่ผู้กู้สมัครและเป็นไปตามเงื่อนไขในกรมธรรม์

รายละเอียดความคุ้มครองของประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ สวัสดิ์คุ้มครองได้แก่

  • กรณีเสียชีวิตจากการเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ รวมไปถึงโรคอุบัติใหม่อย่างโควิด-19 บริษัทประกันจะจ่ายผลประโยชน์ตามจำนวนเงินเอาประกันภัยที่กำหนด สูงสุด 150% ของวงเงินสินเชื่อที่รับอนุมัติ
  • กรณีเสียชีวิตหรือสูญเสียอวัยวะและสายตาจากอุบัติเหตุ จะได้รับความคุ้มครองเป็น 2 เท่า สูงสุด 300% ของวงเงินสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติ และหากเป็นอุบัติเหตุสาธารณะ เช่น ขณะเดินทางด้วยรถโดยสารประจำทาง หรือไฟไหม้ขณะอยู่ในลิฟต์ของอาคารสาธารณะ เป็นต้น จะได้รับความคุ้มครองเป็น 3 เท่า สูงสุด 450% ของวงเงินสินเชื่อที่รับอนุมัติ

ทางที่ดีหากจะกู้สินเชื่อต่าง ๆ นอกจากจะพิจารณาเรื่องความสามารถในการชำระหนี้ของตัวเองแล้ว ควรต้องมีแผนรองรับในอนาคตที่ไม่แน่นอน เพื่อเป็นหลักประกันที่มั่นคงให้กับคนข้างหลัง และอุ่นใจได้ว่า ‘หนี้’ ของเราวันนี้จะไม่กลายเป็น ‘มรดก’ ของใครในอนาคต  ติดตามเรื่องราวชีวิตที่ก้าวต่อได้อย่างไร้มรดกหนี้ ได้ที่ https://www.sawad.co.th/ประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ

generaliSAWADประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อสวัสดิ์คุ้มครอง
Comments (0)
Add Comment