โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และธนาคารออมสิน ได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือ (signing ceremony of partnership) ในวันนี้ เพื่อแสดงความมุ่งมั่นร่วมกันในการส่งเสริมการบูรณาการการแก้ปัญหาเชิงนวัตกรรม เพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งรวมถึงการปรับปรุงการจัดการขยะมูลฝอยในระดับชุมชน
การจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพเป็นหนึ่งในปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ท้าทายที่สุด “การแก้ปัญหา เชิงนวัตกรรมเพื่อจัดการขยะธนาคาร (The Innovative Solutions for Community Waste Bank)” เป็นความคิดริเริ่มระหว่าง โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ธนาคารออมสิน คาร์กิลล์ ประเทศไทย และมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ที่พยายามหาแนวทางแก้ไขเชิงนวัตกรรม เพื่อเร่งแก้ไขปัญหานี้ผ่านการบูรณาการวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมกับเทคโนโลยีดิจิทัล และการมีส่วนร่วมกับชุมชนท้องถิ่น ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ส่งผลให้ระบบการจัดการขยะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีความยั่งยืนมากขึ้น
จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในภาคใต้ของประเทศไทย ได้รับเลือกให้เป็นพื้นที่สาธิตของโครงการ ซึ่งเป็นเมืองตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลที่สวยงามของประเทศไทย โดยขยะอินทรีย์และขยะที่ไม่ใช่อินทรีย์เป็นปัญหาหลักในด้านเชิงสิ่งแวดล้อม อันมีผลพวงมาจากกิจกรรมการท่องเที่ยว ธุรกิจ และวิถีการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนในชุมชนท้องถิ่น
โครงการที่ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อนำแนวทางการบูรณาการส่งเสริมความพยายามในการอนุรักษ์ชุมชนผ่านการมีส่วนร่วมจากหน่วยงานท้องถิ่น ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษามาร่วมปรับปรุงแนวทางการจัดการขยะในปัจจุบัน
ด้วยการสนับสนุนจากธนาคารออมสิน ในโอกาสนี้ ทางโครงการพัฒนาแห่งสหประชาติจะทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัย เพื่อสร้างความตระหนักรู้และสร้างแรงจูงใจทางเศรษฐกิจ โดยการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจสำหรับขยะที่ทิ้งด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การรีไซเคิลพลาสติกและขยะอินทรีย์ เพื่อผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์ ด้วยเหตุนี้การร่วมมือกับธนาคารออมสินผู้มีเครือข่ายอย่างกว้างขวางและครอบคลุมในภาคส่วนต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย จะสามารถให้คนอื่น ๆ เข้าถึงข่าวสารประชาสัมพันธ์ได้มากขึ้น และเกิดความเป็นไปได้ในการลองจำลองโครงการเช่นนี้ในพื้นที่จังหวัดอื่น ๆ
ทั้งนี้ ข้อตกลงดังกล่าว เป็นก้าวสำคัญสู่ความร่วมมือระยะยาวระหว่างโครงการพัฒนาแห่งชาติและธนาคารออมสิน เพื่อร่วมกันสร้างแนวทางแก้ปัญหารับมือในด้านสภาพภูมิอากาศ และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้ดีขึ้น อีกทั้งปรับปรุงเมืองให้ยั่งยืนและน่าอยู่ ซึ่งล้วนเป็นส่วนสำคัญในการเดินหน้าบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในประเทศไทย