การเคหะแห่งชาติ ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ เนคเทค (NECTEC) จัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจการบูรณาการความร่วมมือทางวิชาการจากการพัฒนาเทคโนโลยี หรือนวัตกรรมทางการเกษตรและปศุสัตว์เพื่อใช้ในโครงการบ้านเคหะสุขประชา ระหว่าง นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ และ ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ร่วมลงนามในครั้งนี้ โดยมี ดร.จเรรัฐ ปิงคลาศัย กรรมการการเคหะแห่งชาติ กล่าวแสดงความยินดีกับทั้งสองหน่วยงาน เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2565 ณ ห้องประชุมชั้น 3 อาคาร 5 สำนักงานใหญ่ การเคหะแห่งชาติ คลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ
นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ กล่าวว่า การเคหะแห่งชาติเป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาที่อยู่อาศัยให้กับประชาชนโดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยและกลุ่มเปราะบาง ตลอดจนพัฒนาชุมชนของการเคหะแห่งชาติให้มีความเข้มแข็งสามารถพึ่งพาตนเองได้ รวมถึงฟื้นฟูชุมชนเมืองให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี และพัฒนาเมืองใหม่ เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของเมือง ประกอบกับ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และนายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้มอบนโยบายให้การเคหะแห่งชาติ ดำเนินโครงการบ้านเช่าสำหรับผู้มีรายได้น้อย “บ้านเคหะสุขประชา” ในรูปแบบบ้านเช่าพร้อมอาชีพ เพื่อยกระดับศักยภาพเศรษฐกิจครัวเรือน โดยการส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนแบบครบวงจรตามบริบทสังคมและศักยภาพเชิงพื้นที่ ภายใต้แนวคิด “เศรษฐกิจสุขประชา” ผ่านการประกอบอาชีพเกษตรกรรม และปศุสัตว์ เป็นต้น
ความร่วมมือระหว่างการเคหะแห่งชาติและเนคเทคในครั้งนี้ จะสร้างความร่วมมือทางวิชาการจากการวิจัยเทคโนโลยีหรือนวัตกรรม เพื่อพัฒนาด้านเกษตรกรรมและปศุสัตว์ ส่งเสริมการบูรณาการองค์ความรู้ในด้านการเกษตรและปศุสัตว์ และถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน ในโครงการเศรษฐกิจสุขประชา ภายใต้โครงการ “บ้านเคหะสุขประชา” รวมถึงเก็บข้อมูลเพื่อศึกษาและถ่ายทอดต่อไป โดยความร่วมมือดังกล่าวถือเป็นความร่วมมือทั้งด้านระดับนโยบาย กลยุทธ์และระดับปฏิบัติการ เพื่อสานพลังเชิงบวกสู่เป้าหมายในทิศทางเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
โดยบูรณาการงานวิจัย 3 เรื่องข้างต้นเพื่อพัฒนาเป็นแพลตฟอร์มเชื่อมโยงความต้องการของผู้บริโภค/ผู้ค้า กับความสามารถในการผลิตของเกษตรกร รวมถึงบริหารจัดการ market place และ logistics เพื่อให้เป็นเครื่องมือในการสร้างอาชีพและรายได้ ให้กับผู้เช่า รวมถึงวิสาหกิจชุมชน ในโครงการเคหะสุขประชา เพื่อส่งเสริมการทำการเกษตร ยกระดับผลผลิต ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร คุณภาพชีวิต และรายได้ แก่ผู้เช่าในโครงการฯ เกษตรกร และผู้ประกอบการเทคโนโลยีการเกษตรไทยได้อย่างยั่งยืน รวมทั้งการนำ Aqua IoT – นวัตกรรมอัจฉริยะเพื่อฟาร์มสัตว์น้ำ และ Eco Plant factory – โรงงานผลิตพืช ยกระดับการปลูกพืชสู่เกษตรแม่นยำ มาร่วมโครงการในระยะต่อไปด้วย และในอนาคตมีแนวคิดนำ Eco Plant factory นวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุและคนพิการ ตลอดจนแพลตฟอร์มบริหารจัดการเมืองและชุมชน มาใช้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัย ในโครงการบ้านเคหะสุขประชาด้วย
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้จัดตั้ง บริษัท เคหะสุขประชา จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 โดยการเคหะแห่งชาติถือหุ้น 49% ที่เหลือเป็นเงินลงทุนจากภาคเอกชน โดยเป็นธุรกิจอื่น อีก 7 กลุ่มถือหุ้นในสัดส่วนรวมกัน 51% อาทิ ธุรกิจค้าปลีก เกษตร เฮลท์แคร์ ประกันภัย อสังหาริมทรัพย์ ก่อสร้าง และอุตสาหกรรม ซึ่งแต่ละรายจะถือหุ้นได้ในสัดส่วนไม่เกิน 15%