SYMC ยกระดับบริการด้วยโครงข่ายใหม่ SDN-MPLS Network รายแรกในไทย เสริมประสิทธิภาพการเชื่อมต่อ รองรับการทรานส์ฟอร์มองค์กรด้วยโครงข่ายอัจฉริยะ
ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น หรือ SYMC พร้อมเดินหน้าให้บริการโครงข่าย SDN-MPLS Network รายแรกในไทย ด้วยเทคโนโลยีล่าสุด บริหารจัดการโครงข่ายอัจฉริยะคุณภาพสูง ลดความซับซ้อนในการเชื่อมต่อ เพิ่มประสิทธิภาพและตอบโจทย์การดำเนินธุรกิจในทุกมิติ ทั้งการเชื่อมต่อการสื่อสาร บริการคลาวด์ และบริการด้าน Virtualization แบบไร้รอยต่อ ส่งเสริมการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นในองค์กร และรองรับบริการรวมถึงแอปพลิเคชันที่มีความหลากหลายในอนาคต
นายอเล็กซ์ โลท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SYMC ผู้ให้บริการโครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคมชั้นนำ กล่าวว่า นโนบายเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) ของรัฐบาลที่เน้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมบนโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและการเชื่อมต่อการสื่อสารที่มีการขยายตัวมากขึ้น ทำให้ภาครัฐและเอกชนมีการปรับตัวสู่กระบวนการดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและก้าวทันการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต บริษัทให้ความสำคัญกับการลงทุนในระยะยาวเพื่อขยายโครงข่ายและปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการ รวมถึงพื้นที่บริการให้ครอบคลุมทั่วประเทศด้วยการจัดการและปรับปรุงโครงข่ายบริการหลักและอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้มีความทันสมัย เพื่อการใช้งานโครงข่ายที่มีความคล่องตัว มีประสิทธิภาพ มีความยืดหยุ่นยิ่งขึ้น ตอบสนองต่อผู้ใช้บริการได้เร็วขึ้นด้วยความหน่วงที่ต่ำกว่า (Low Latency)
“ในช่วงที่ผ่านมา ธุรกิจโทรคมนาคมมีการขยายตัวอย่างมาก อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัล ทั้งในด้านความต้องการการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้น และความหลากหลายของแอปพลิเคชันที่ต้องใช้โครงข่ายบริการที่สามารถรองรับได้ในปริมาณมาก ทำให้เราเล็งเห็นถึงความสำคัญของการเติบโตของตลาดได้อย่างชัดเจน และโครงข่าย SDN-MPLS Network เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่พัฒนาต่อยอดจากโครงข่าย MPLS แบบเดิม โดยมีความรวดเร็วในการจัดการ ลดความซับซ้อนในการเชื่อมต่อ มีระบบการคิดวิเคราะห์และมีความคล่องตัวยิ่งขึ้น ทำให้การเชื่อมต่อการสื่อสารของลูกค้ามีความต่อเนื่อง ตลอดจนรองรับความเร็วและแบนด์วิธที่สูงขึ้น โดยเป็นการรวมระบบการทำงานต่างๆ แบบอัจฉริยะเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นระบบจัดการเส้นทางอัตโนมัติ ระบบวิเคราะห์ความหน่วงของข้อมูล (Latency) ระบบวิเคราะห์ความหนาแน่นของโครงข่าย (Utilization) ระบบควบคุมและเฝ้าระวังข้อมูลศูนย์หาย (Packet Loss Monitoring) ระบบจำลองสถานการณ์ (Simulation) เพื่อประเมินผลกระทบล่วงหน้าและแจ้งให้ลูกค้าทราบได้อย่างแม่นยำขึ้น พร้อมระบบการเชื่อมต่อกับสมาร์ตโฟน คอมพิวเตอร์ เว็บแอปพลิเคชัน เพื่อให้ลูกค้าสั่งงานผ่านอุปกรณ์พกพาได้อย่างง่ายดาย รวมถึงสามารถควบคุมดูแลทุกอย่างจากส่วนกลางได้ ที่สำคัญคือรองรับการรับ-ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงถึง 100Gbps และขยายไปได้จนถึง 1000Gbps ซึ่งเป็นมาตรฐานใหม่ในปัจจุบัน”
โดยจุดเด่นของโครงข่าย SDN-MPLS Network อาทิ Throughput ให้ความแม่นยำในการควบคุม Bandwidth ตามที่ผู้ใช้บริการเลือกใช้ มี Latency ต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่กรุงเทพฯ โครงข่าย SDN-MPLS มี Latency ไม่เกิน 2ms เหมาะกับการใช้งานแอปพลิเคชันต่างๆ ได้อย่างไหลลื่นไม่สะดุด High Reliable มีเสถียรภาพสูงด้วยการเชื่อมต่อแบบหลากหลายเส้นทาง ง่ายต่อการบริหารจัดการและการสลับเส้นทางโดยอัตโนมัติหากเกิดขัดข้อง และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านต่าง ๆ ที่สามารถต่อยอดเข้ากับระบบและบริการอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย รวมถึงมอบประสบการณ์ใหม่ให้ลูกค้าด้วย Self-Service Portal เพื่อให้ผู้ใช้บริการเห็นการทำงานของโครงข่ายแบบเรียลไทม์ ทั้งการปรับแบนด์วิธ สั่งการ ตรวจสอบสถานะการบริการ สาเหตุการเกิดเหตุขัดข้อง การแจ้งเตือนและการเรียกดูการใช้งานต่างๆ ได้ง่ายเพียงปลายนิ้วบน Service Dashboard
สำหรับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายทั้งในประเทศและระหว่างประเทศที่จะได้ประโยชน์จากโครงข่ายใหม่นี้ ได้แก่ กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจให้บริการด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม ผู้ให้บริการด้านอินเทอร์เน็ต (ISP) ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ กลุ่มลูกค้าองค์กร และองค์กรภาครัฐ ธนาคาร สถาบันการเงิน ธุรกิจค้าปลีก โรงแรม โลจิสติกส์ รวมถึงกลุ่ม OTT (Over-the-Top) ที่ให้บริการด้านคอนเทนต์ต่างๆ ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์
นายอเล็กซ์ กล่าวเพิ่มว่า “เพราะเราตระหนักดีว่าการเชื่อมต่อการสื่อสารในยุคดิจิทัลคือหัวใจหลักสำหรับทุกธุรกิจ เราจึงต้องก้าวไปข้างหน้าอยู่เสมอในการส่งมอบบริการด้วยโครงข่ายคุณภาพที่ดีที่สุดด้วยนวัตกรรมล่าสุดเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมให้กับลูกค้าของเรา เพื่อตอบโจทย์ความต้องการในการเชื่อมต่อการสื่อสารที่เพิ่มมากขึ้นรวมถึงการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นให้เกิดขึ้นในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งการปรับเปลี่ยนโครงข่ายหลักไปสู่ SDN-MPLS Network นี้จะช่วยยกระดับคุณภาพการบริการไปสู่มาตรฐานที่สูงขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน และต่อยอดธุรกิจให้กับลูกค้าได้เป็นอย่างดี เพราะเป็นการสร้างแพลตฟอร์มทางด้านโทรคมนาคมแบบยั่งยืน ทั้งนี้ ช่วยให้รักษาความสามารถในการแข่งขันได้ในระยะยาวซึ่งเป็นผลดีต่อทั้งบริษัทฯ และตอกย้ำภาพลักษณ์ในการมุ่งมั่นที่จะเป็น “Best Trusted Network” ในระดับภูมิภาคได้เป็นอย่างดี
ในด้านการขยายพื้นที่ให้บริการและพัฒนาโครงข่ายนั้น บริษัทพิจารณาจากความสำคัญด้านยุทธศาสตร์เป็นสิ่งสำคัญ ทั้งนี้ปริมาณความต้องการในการเชื่อมต่อสื่อสารยังคงเติบโตสอดคล้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมและการขยายตัวของการค้าและการลงทุนข้ามพรมแดน โดยตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยมีศักยภาพสูงในการเป็นศูนย์กลางการสื่อสารโทรคมนาคม ปัจจุบันบริษัทให้บริการครอบคลุมพื้นที่ที่มีศักยภาพสูง ทั้งกรุงเทพฯ และปริมณฑล พื้นที่เศรษฐกิจหลัก 50 จังหวัด อาคารสำนักงานชั้นนำในกรุงเทพฯ 259 อาคาร นิคมอุตสาหกรรม 53 แห่ง ศูนย์บริการทั่วประเทศ 18 แห่ง และมีเกตเวย์เพื่อเชื่อมต่อโครงข่ายระหว่างประเทศ อีก 6 แห่ง ซึ่งเราเชื่อมั่นว่าการพัฒนาโครงข่ายหลักของบริษัทไปสู่ SDN-MPLS Network นี้จะช่วยยกระดับ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานและสร้างประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมให้เกิดขึ้นกับลูกค้าได้อย่างแน่นอน”