บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)หรือ ซีพีเอฟ ลงนามความร่วมมือทางวิชาการ “มาตรฐานระบบการจัดการเศรษฐกิ จหมุนเวียนองค์กร” (Circular Economy Management System for the Organization) กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ส่งเสริมการนำหลักเศรษฐกิจหมุ นเวียนมาใช้ในการปฏิบัติจริงในองค์กร
ความร่วมมือดังกล่าวเพื่อผลักดั นนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ซึ่งเป็นโครงการฯระหว่างศูนย์ เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านกลยุทธ์ธุ รกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือ วีกรีน คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และบริษัทเอกชนรวม 32 บริษัท จาก 6 กลุ่มอุตสาหกรรม ประกอบด้วย กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง อุตสาหกรรมพลาสติก อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ อุตสาหกรรมแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ และอุตสาหกรรมพลังงานสะอาด โดยได้รับเกียรติจาก ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลั ยเกษตรศาสตร์ เป็นประธานในพิธีลงนาม ร่วมกับบริษัทเอกชน 32 แห่ง โดยในส่วนของซีพีเอฟ โดยบริษัท ซีพีเอฟ ฟู้ด แอนด์ เบฟเวอร์เรจ จำกัด (โรงงานอาหารสำเร็จรูปหนองจอก) มีนายเกริกพันธุ์ ดีประเสริฐ รองกรรมการผู้จัดการ ซีพีเอฟ เป็นตัวแทนลงนาม ณ ห้องประชุมกำพล อดุลวิทย์ อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
ด้าน รศ. ดร.รัตนาวรรณ มั่งคั่ง ผู้อำนวยการวีกรีน ในฐานะหัวหน้าโครงการ ฯ กล่าวว่า ประเทศไทยมี BCG Model เป็นโมเดลเศรษฐกิจใหม่ โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวี ยน ซึ่งได้รับการตอบรับจากภาคเอกชน แต่ยังมีคำถามว่าจะนำไปสู่ แนวทางการปฏิบัติอย่างไร ทางสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุ ตสาหกรรม (สมอ.) ในฐานะที่เป็นหน่ วยงานของกระทรวงอุตสาหกรรม เห็นว่ามาตรฐานเป็นเครื่องมื อสำคัญในการทำการตลาดกับคู่ค้ าธุรกิจ หรือประเทศที่ไทยส่งออกสินค้า ซึ่งทั่วโลกมีนโยบายเศรษฐกิจหมุ นเวียน ดังนั้น การที่ประเทศไทยมีการผลิตสินค้ าเพื่อส่งออก จึงต้องเตรียมความพร้อมในเรื่ องการแสดงข้อมูลสิ่งแวดล้ อมของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งมาตรฐานการจัดการเศรษฐกิ จหมุนเวียนสำหรับองค์กร เพื่อที่จะก้าวสู่การเป็นผู้ นำในเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียนทั้ งระดับภูมิภาคและระดับสากล
สำหรับโครงการ “การพัฒนาระบบการตรวจสอบและรั บรองระบบการจัดการเศรษฐกิจหมุ นเวียนองค์กรเพื่อผลักดั นนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียน ได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยบริ หารและจัดการทุนด้านการเพิ่ มความสามารถในการแข่งขั นของประเทศ หรือ บพข. ระยะเวลาดำเนินโครงการที่เกี่ ยวข้องกับบริษัทนำร่อง ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565 ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 ซึ่งมาตรฐานระบบการจั ดการเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรั บองค์กร จะเป็นกลไกสำคัญที่จะช่่วยสนั บสนุนให้องค์กรและผู้มีส่วนได้ เสียที่เกี่ยวข้องใช้เป็ นแนวทางปฏิบัติในการจั ดทำระบบการจัดการเศรษฐกิจหมุ นเวียนในองค์กรอย่างเป็นรูปธรรม อาทิ การส่งเสริมให้มีการใช้ทรั พยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การลดปริมาณของเสีย ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ช่่วยผลักดันขี ดความสามารถในการแข่งขั นของประเทศไทย ก้าวสู่ความเป็นผู้นำด้ านเศรษฐกิจหมุนเวียนต่อไป