“ธนาคารกสิกรไทยมุ่งมั่นเสริมแกร่งสถานะผู้นำธนาคารดิจิทัลตัวเลือกอันดับหนึ่งของไทย โดยใช้นวัตกรรมและการลงทุนในเทคโนโลยีที่ถูกต้อง เป็นส่วนหนึ่งภายใต้การผสานความเป็น ‘ชาเลนเจอร์แบงก์’ เข้ามาในองค์กร โดยเพียง 6 เดือนหลังการประกาศเป้าหมายมุ่งทำให้บริการของธนาคารเรียบง่าย รวดเร็ว และสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้นสำหรับทุกคน ด้วยการนำเทคโนโลยีอัจฉริยะมาใช้ เรารู้สึกขอบคุณและตื่นเต้นที่แพลตฟอร์มดิจิทัลของเราได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น แสดงถึงการตอบรับที่ทุกคนมีต่อธนาคารกสิกรไทย” นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย
ธนาคารกสิกรไทย (KBank) เปิดเผยยอดการใช้งาน แพลตฟอร์มดิจิทัลของธนาคารกสิกรไทยเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด เพียงแค่ 6 เดือนหลังประกาศแผนผสานความเป็น “ชาเลนเจอร์แบงก์” เข้ามาในองค์กร เพื่อเปิดโอกาสให้คนจำนวนมากขึ้นสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการของธนาคารได้ โดยการทำให้บริการธนาคารเรียบง่ายขึ้น ด้วยการนำเทคโนโลยีล้ำสมัยมาใช้
นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า “ในปี 2565 ที่ผ่านมา มีคนจำนวนมากกว่า 2 ล้านคน สมัครใช้งาน K PLUS ของเรา โดยในจำนวนนี้ มีมากกว่า 1 ล้านคนเป็นผู้ที่เพิ่งใช้บริการธนาคารกสิกรไทยเป็นครั้งแรก ซึ่งความนิยมแพลตฟอร์มดิจิทัลของธนาคารกสิกรไทยที่เพิ่มขึ้นนี้ ทำให้ธนาคารกสิกรไทยเดินหน้าสู่การเป็นธนาคารดิจิทัลอย่างเต็มภาคภูมิ โดยปัจจุบันธุรกรรมของธนาคารกสิกรไทย เป็นธุรกรรมที่ทำผ่านระบบออนไลน์ถึง 98%”
ด้วยเทคโนโลยีของเรา ทำให้คนจำนวนมากขึ้นได้รับประโยชน์จากบริการธนาคาร ในแต่ละชั่วโมงมีจำนวนธุรกรรมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประมาณ 1 ล้านรายการต่อชั่วโมง
นอกจากนั้น ยอดเงินที่เป็นการทำธุรกรรมผ่าน K PLUS ยังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมียอดเงินสูงเกือบ 10 ล้านล้านบาทในปี 2565
การเติบโตดังกล่าวช่วย “ตอกย้ำความเป็นผู้นำของธนาคารกสิกรไทยในฐานะธนาคารดิจิทัลอันดับหนึ่งของไทย”
นางสาวขัตติยากล่าวว่า “ความนิยมที่เพิ่มขึ้นทำให้เรามีความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ตามไปด้วย ที่จะต้องก้าวล้ำไปข้างหน้ากับเทคโนโลยีต่างๆ อยู่เสมอ เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการธนาคารได้อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนด้วยระบบที่มีเสถียรภาพสูง นั่นเพราะวิสัยทัศน์ของเรามองไปไกลเกินกว่าขอบเขตประเทศไทย โดยเป้าหมายของเราอยู่ที่การเป็นผู้นำการให้บริการธนาคารดิจิทัลที่ดีที่สุดระดับภูมิภาค”
นอกจากนี้ ธนาคารยังให้ความสำคัญในการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยการใช้บริการ K PLUS โดยนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการป้องกันและตรวจจับธุรกรรมที่ผิดปกติควบคู่ไปกับการใช้งานที่สะดวกและเหมาะสมกับลูกค้าทุกกลุ่มของธนาคาร
นางสาวขัตติยากล่าวเพิ่มเติมว่า แพลตฟอร์มออนไลน์ของธนาคารกสิกรไทยกำลังช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อยในการทำธุรกิจระหว่างประเทศ ด้วยการมอบต้นทุนทางด้านการเงินที่ต่ำกว่า และเป็นธนาคารเดียวในประเทศไทยที่ไม่ถูกหักค่าธรรมเนียมการโอนจากธนาคารตัวกลาง สำหรับการโอนเงินจากประเทศไทย ไปยัง 32 ประเทศคู่ค้า
LINE BK
ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ในช่วงปี 2565 การจับมือกับ LINE เพื่อให้บริการธนาคารผ่านทางโซเชียลมีเดีย มีการเติบโตขึ้นอย่างชัดเจน โดยมีผู้ใช้บริการรายใหม่ เพิ่มขึ้นจำนวนมากกว่า 1,400,000 ราย และ ณ สิ้นปี 2565 มียอดสินเชื่อปล่อยกู้ผ่าน LINE BK กว่า 1.8 หมื่นล้านบาท โดยจำนวนมากเป็นการให้กู้ยืมแก่ลูกค้าที่ไม่มีรายได้ประจำหรือไม่มีเงินเดือนประจำ เช่น คนทำงานอิสระและผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยอื่นๆ
“เนื่องจากคนที่ประกอบอาชีพเหล่านี้มักจะไม่มีรายได้ประจำหรือไม่มีสลิปเงินเดือน จึงทำให้พวกเขามีความยากลำบากในการได้รับอนุมัติเงินกู้จากธนาคาร เพื่อที่จะเอามาช่วยเหลือตัวเองในช่วงเวลาที่ยากลำบากที่มาเป็นครั้งเป็นคราว และบ่อยครั้งก็ทำให้เขาต้องหันไปหาเงินกู้นอกระบบ” นางสาวขัตติยากล่าว
LINE BK ใช้ระบบเอไอในการวิเคราะห์ข้อมูล และข้อมูลสมัยใหม่อื่นๆ เช่น ข้อมูลพฤติกรรมจากบริการที่เกี่ยวข้องของ LINE ซึ่งได้รับอนุญาตจากผู้สมัครขอสินเชื่อก่อน เพื่อประเมินความสามารถและความตั้งใจในการชำระคืนเงินกู้ของผู้กู้
เมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว ธนาคารกสิกรไทยได้ประกาศเดินหน้าโครงการเชิงกลยุทธ์ที่เรียกว่าการผสานความเป็น “ชาเลนเจอร์แบงก์” เข้ามาในองค์กร ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะขยายการเข้าถึงเงินกู้และบริการต่างๆ ของธนาคารให้กับคนไทยที่ยังเข้าไม่ถึงบริการธนาคารหรือเข้าถึงได้ยาก ซึ่งมีอยู่ประมาณ 30 ล้านคน
“ชาเลนเจอร์แบงก์” เป็นปรากฏการณ์ดิสรัปชั่นของวงการธนาคาร ที่มาท้าทายธนาคารหลักต่างๆ ในหลายประเทศ ด้วยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยเหลือธุรกิจขนาดย่อมและผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน หรือไม่มีรายได้ประจำ เวลาที่คนกลุ่มนี้ยื่นขอสินเชื่อ จะมีโอกาสได้รับการประเมินขีดความสามารถและประเมินความตั้งใจในการชำระคืนเงินกู้อย่างรอบด้านมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ชาเลนเจอร์แบงก์ยังดึงดูดลูกค้าของธนาคารในปัจจุบัน ด้วยการกำจัดกระบวนการที่ขาดความคล่องตัว ให้บริการที่รวดเร็วกว่า ใช้งานง่ายกว่า และสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ตลอดเวลา
นางสาวขัตติยาอธิบายกลยุทธ์ของธนาคารกสิกรไทยว่า เป็นการหลอมรวมดีเอ็นเอของความเป็นชาเลนเจอร์แบงก์เข้าไปในแก่นของธนาคารกสิกรไทย ซึ่งประสบความสำเร็จอยู่แล้วในฐานะธนาคารในยุคปัจจุบันที่ได้รับการยอมรับเชื่อถือในความสามารถในการตอบโจทย์ลูกค้าทุกกลุ่ม
ภายใต้โครงการดังกล่าวนี้ ธนาคารกสิกรไทยได้จัดสรรงบประมาณ 22,000 ล้านบาท เพื่อลงทุนด้านเทคโนโลยี ในช่วงปี 2565 – 2567