KBank Private Banking ชี้ตราสารหนี้มีโอกาสปรับขึ้นต่อ แนะเพิ่มน้ำหนักลงทุนใน 2 กองทุน ภายใต้ธีม Bonds are Back สร้างผลตอบแทน – กระจายความเสี่ยง – รับมือความไม่แน่นอน

KBank Private Banking ชี้โอกาสดีในตลาดตราสารหนี้และพันธบัตร จากแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยที่กำลังจบลง ส่งผลให้ดัชนีพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ พลิกกลับมาเป็นบวกอีกครั้ง หลังจากที่ปรับตัวลงมาแรงในปีก่อน เชื่อว่าสามารถสร้างผลตอบแทนที่น่าสนใจให้กับนักลงทุน พร้อมแนะให้เพิ่มสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ ภายใต้ธีม Bonds are Back ที่กระจายความเสี่ยงผ่านตราสารหนี้และพันธบัตรหลากหลายประเภททั่วโลก เพื่อรับมือกับความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยในอนาคต

นางสาวศิริพร สุวรรณการ Senior Managing Director, Financial Advisory Head, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ตลอดหลาย 10 ปีที่ผ่านมา ตราสารหนี้เป็นสินทรัพย์ที่ไม่ได้รับความสนใจมากนักจากนักลงทุน เนื่องจากให้ผลตอบแทนไม่มาก เป็นเพียงเครื่องมือที่ช่วยประคับประคองพอร์ตการลงทุนในช่วงเศรษฐกิจถดถอยหรือในช่วงที่มีวิกฤต อย่างไรก็ดี ในปีนี้ Bonds are Back เป็นธีมการลงทุนที่นักลงทุนควรหันมาให้ความสนใจ จากการที่ธนาคารกลางในประเทศเศรษฐกิจหลักของโลก อย่าง Fed มีนโยบายขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่เร็วและแรงเพื่อรับมือเงินเฟ้อ ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Bond yield) ปรับตัวขึ้นแรงตามทั้งสหรัฐฯ และไทย ทั้งนี้ KBank Private Banking คาดว่าการปรับขึ้นดอกเบี้ยจะสิ้นสุดในปีนี้ ดังนั้นโอกาสที่ดอกเบี้ยในตลาดจะทรงตัวหรือปรับตัวลงมีมากกว่าที่จะปรับเพิ่มขึ้นต่อความเสี่ยงจากประเด็นด้านดอกเบี้ยสำหรับตราสารหนี้ก็จะลดลง

ช่วงที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าตลาดตราสารหนี้เริ่มฟื้นตัวขึ้นและมีอัตราผลตอบแทนที่น่าสนใจ หลังเงินเฟ้อเริ่มผ่อนคลายและเศรษฐกิจโดยรวมเริ่มส่อแววชะลอตัวลง  ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปีปรับลงในเดือนมีนาคมกว่า 1% จากระดับสูงสุดที่ 5.07% ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นระดับที่สูงสุดในรอบกว่า 12 ปีเลยทีเดียว ส่วนทิศทางตลาดตราสารหนี้ในปี 2566 มีโอกาสปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากมีแนวโน้มที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรจะผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว และการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของ Fed หลังจากนี้มีทิศทางที่จะชะลอความเร็วลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของ Fed ปัจจุบันอยู่ที่ 4.75-5.00%

ดังนั้น KBank Private Banking จึงมองว่าเป็นโอกาสที่ดีที่นักลงทุนควรเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้โดย 1) ควรกระจายการลงทุนตราสารหนี้ที่หลากหลาย ทั้งพันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้เอกชน ที่จะได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาขึ้นที่ใกล้จะสิ้นสุด เช่น กองทุนเปิดทีเอ็มบี อีสท์สปริง โกลบอล สมาร์ท บอนด์ (TTB-ES-GSBOND)

2) แนะนำเพิ่มการลงทุนใน Contingent Convertible Bond (CoCos Bond) หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ที่มีโอกาสที่ได้รับผลตอบแทนที่ดี  หลังสถานะการเงินในภาคธนาคารแข็งแกร่งขึ้นมากกว่าในช่วงปี 2551 ที่เกิดวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ เช่น กองทุนกองทุนเปิด ยูไนเต็ด แพลตินัม อินคัม ออพพอร์ทูนิตี้ส์ พลัส ฟันด์ (UPINCM-N)

กองทุน

 

กองทุนเปิดทีเอ็มบี อีสท์สปริง โกลบอล สมาร์ท บอนด์ (TTB-ES-GSBOND)

 

กองทุนเปิด ยูไนเต็ด แพลตินัม อินคัม ออพพอร์ทูนิตี้ส์ พลัส ฟันด์ (UPINCM-N)

 

กองทุนหลัก JP Morgan Income Fund PIMCO GIS Capital Securities Fund และ Jupiter Financials Contingent Capital Fund
นโยบายลงทุน ลงทุนในตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ เช่น ตราสารหนี้ประเภทสินเชื่อที่มีหลักทรัพย์เป็นประกัน เน้นลงทุนในตราสารประเภท Contingent Convertible (CoCos) ที่ออกโดยสถาบันการเงินหรือบริษัทประกัน
ภูมิภาคที่ลงทุน เน้นสหรัฐฯ เป็นหลัก เน้นยุโรปเป็นหลัก
โอกาส ดอกเบี้ยสหรัฐฯ ที่สูงกว่าไทย และกองทุนมีความคล่องตัวสูงสามารถปรับอายุตราสารเฉลี่ยได้รวดเร็ว ทันสถานการณ์ ผลตอบแทนที่ปรับเพิ่มขึ้นจากความกังวลของตลาด

ในขณะที่สถานะการเงินของภาคธนาคารขนาดใหญ่แข็งแกร่งขึ้นมากและมีการกระจายลงทุนใน 2 กองหลักและตราสารหนี้ในประเทศเพื่อลดความเสี่ยง

ความเสี่ยง เศรษฐกิจสหรัฐฯ ถดถอยมากกว่าที่คาด ส่งผลให้อัตราการผิดนัดชำระหนี้สูงขึ้นกระทบตราสารภาคเอกชน (High Yield) ความคลุมเครือในประเด็น AT1 ของธนาคารในสวิตเซอร์แลนด์อาจเป็นประเด็นต่อเนื่องสู่ธนาคารอื่นในยุโรป
ผลตอบแทนนับตั้งแต่ต้นปี (%) – 0.76% -2.28%
ความผันผวน

นับตั้งแต่ต้นปี (%)

3.97% 5.28%
ผลขาดทุนสูงสุด

นับตั้งแต่ต้นปี (%)

-3.20% -5.54%

ข้อมูล ณ วันที่ 16 มีนาคม 2566

KBank Private Banking เห็นความท้าทายในตลาดการลงทุนระยะข้างหน้าจากความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา จึงแนะนำเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในตราสารหนี้ ด้วยเหตุผลว่า 1) วัฎจักรของดอกเบี้ยใกล้สิ้นสุดลงแล้ว และยังไม่เห็นท่าทีว่าจะมีการลดดอกเบี้ย อย่างไรก็ดี อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่ปรับตัวขึ้นสูงช่วยปกป้องให้ภาพรวมของผลตอบแทนไม่ติดลบมากนัก  2) เศรษฐกิจโลกมีโอกาสชะลอตัวหรือถดถอยเพียงเล็กน้อย ภาคธุรกิจยังมีความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย 3) ส่วนต่างของดอกเบี้ยที่ต่างกันถือเป็นโอกาสการลงทุนในตราสารหนี้  ที่สำคัญคือตราสารหนี้เป็นตัวช่วยกระจายความเสี่ยงที่ดี จึงแนะนำการกระจายการลงทุนในตราสารหนี้หลากหลายประเภททั่วโลกที่ผ่านการคัดสรรจากผู้เชี่ยวชาญ ที่จะคอยดูแลปรับพอร์ตเพื่อรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ อยู่เสมอ พร้อมกับสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว” นางสาวศิริพร กล่าวปิดท้าย

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ของ KBank Private Banking ได้ที่ https://kbank.co/3ETkS5v