10 ผลงานวิจัย จาก 10 มหาวิทยาลัย ในความสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาพื้นที่ โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) พิชิตรางวัลงานวิจัยดีเด่นด้านการพัฒนาเชิงระบบ/นโยบายระดับชาติหรือจังหวัดหรือท้องถิ่น – ด้านการแก้ปัญหาและสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจและอาชีพ และด้านการอนุรักษ์พัฒนาและจัดการภูมิปัญญา ทรัพยากร และทุนของชุมชน
งานวิจัยดีเด่นด้านการพัฒนาเชิงระบบ/นโยบายระดับชาติหรือจังหวัดหรือท้องถิ่น มี 3 ผลงานได้แก่
1). งานวิจัยสร้างเมืองปูทะเล กลางวิกฤตที่ปัตตานี โดย รศ.ดร.ซุกรี หะยีสาแม และคณะนักวิจัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
2). งานวิจัยธุรกิจปันกัน “ตอน เสริมสภาพคล่องด้วย…วัคซีนการเงิน” โดย รศ.ดร.บัณฑิต อินณวงศ์ และคณะนักวิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
3). งานวิจัยระบบบริหารครัวเรือนยากจน แบบร่วมมือระดับพื้นที่ โดย รศ.จิระพันธ์ ห้วยแสน และคณะนักวิจัย มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
งานวิจัยดีเด่นด้านการแก้ปัญหาและสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจและอาชีพ มี 4 ผลงาน ได้แก่
1). งานวิจัยการพัฒนาศักยภาพกลุ่มผู้ผลิตผ้าไหมจังหวัดสุรินทร์ ด้วยนวัตกรรมสำหรับชุมชน โดย ดร.ภรณี หลาวทอง และคณะนักวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
2). งานวิจัยกระจูดแก้จนแบบมีส่วนร่วมจังหวัดพัทลุง โดย รศ.ดร.สมัคร แก้วสุกแสง และคณะนักวิจัย มหาวิทยาลัยทักษิณ
3). งานวิจัยผลิตภัณฑ์นวัตกรรมจากมะม่วงเบาใต้-ยางพารา และพริก โดย ผศ.ดร.อนุวัตร วอลี และคณะนักวิจัย มหาวิทยาลัยฟาฏอนี
4). งานวิจัยการพัฒนาโคเนื้อจังหวัดน่าน ด้วยกลไกความร่วมมือเชิงพื้นที่ โดย ผศ.น.สพ.ดร.วินัย แก้วละมุล และคณะนักวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
งานวิจัยดีเด่นด้านการอนุรักษ์พัฒนาและจัดการภูมิปัญญา ทรัพยากร และทุนของชุมชน มี 3 ผลงาน ได้แก่
1). งานวิจัยการจัดการทรัพยากรป่าประ นบพิตำ สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์และการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน โดย ผศ.ดร.สมรักษ์ รอดเจริญ และคณะนักวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
2). งานวิจัย Learning City LAMPANG Model โดย ดร.ขวัญนภา สุขศร และคณะนักวิจัยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง จ.ลำปาง
3). งานวิจัย Phayao Learning : พะเยาเมืองแห่งเรียนรู้ของยูเนสโกของทุกคน โดย รศ.ดร.ผณินทรา ธีรานนท์ และคณะนักวิจัย มหาวิทยาลัยพะเยา
“ทุกผลงานวิจัยที่ได้รับรางวัลงานวิจัยดีเด่น ล้วนตอบสนองต่อเจตนารมย์สำคัญของ บพท. คือความมุ่งมั่นผลักดันการขับเคลื่อนกระบวนการการพัฒนาพื้นที่ อันเป็นทิศทางสำคัญของการกระจายความเจริญ ให้เป็นไปอย่างทั่วถึง ทุกภูมิภาค โดยมีงานวิจัยเป็นเข็มทิศนำทาง มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมพร้อมใช้ที่เหมาะสมเป็นเครื่องมือ และมีกลไกกระบวนการความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายในพื้นที่เป็นพลังขับเคลื่อน เพื่อนำสู่เป้าหมายการพัฒนาคน พัฒนาพื้นที่ ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ ตลอดจนยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันแก่ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งวิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจเพื่อสังคมในระดับพื้นที่”