สำหรับเบี้ยประกันภัยรับรายใหม่ ประกอบด้วย
1.) เบี้ยประกันภัยรับปีแรก (First Year Premium) จำนวน 29,841 ล้านบาท เติบโตลดลงร้อยละ 3.59
2.) เบี้ยประกันภัยรับจ่ายครั้งเดียว (Single Premium) จำนวน 16,050 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.56
เมื่อจำแนกเบี้ยประกันภัยรับรวม (Total Premium) ในช่วงไตรมาสแรก ปี 2567 แยกตามช่องทางการจำหน่าย มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
อันดับ 1 การขายผ่านตัวแทนประกันชีวิต จำนวน 78,013 ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 47.58 หรือเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.20 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา
อันดับ 2 การขายผ่านธนาคาร จำนวน 66,044 ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 40.28 หรือเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.49 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา
อันดับ 3 การขายผ่านช่องทางนายหน้า จำนวน 11,228 ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 6.85 หรือเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.90 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา
อันดับ 4 การขายผ่านช่องทางโทรศัพท์ 3,090 ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 1.88 หรือเติบโตลดลงร้อยละ 11.62 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา
อันดับ 5 การขายผ่านช่องทางดิจิทัล 313 ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 0.19 หรือเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.91 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา
อันดับ 6 การขายผ่านช่องทางไปรษณีย์ 4 ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 0.002 หรือเติบโตลดลงร้อยละ 39.79 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา
ส่วนการขายผ่านช่องทางอื่นๆ (Others) เช่น การขาย Worksite การขายผ่านการออกบูธ Walk-in และ การขายผ่านร้านค้าสะดวกซื้อ เป็นต้น มีเบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 5,266 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.21 หรือเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.30 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา
นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit – Linked และ Universal life) ก็ได้รับความสนใจเช่นเดียวกัน โดยมีเบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 8,979 ล้านบาทเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.98 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.48 ส่วนหนึ่งมาจากการที่ประชาชนเริ่มเลือกผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่สามารถตอบโจทย์ได้ทั้งเรื่องการลงทุนและความคุ้มครอง ที่มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวในการปรับลดเงินลงทุนหรือทุนประกันภัย ซึ่งตอบโจทย์เป้าหมายทั้งด้านการเงินและการบริหารความเสี่ยงในเวลาเดียวกัน นายกสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวในตอนท้าย