KBank Private Banking ร่วมกับ Lombard Odier พันธมิตรทางธุรกิจไพรเวทแบงก์ระดับโลกจากสวิตเซอร์แลนด์ จัดงานสัมมนาในหัวข้อ “Repositioning Portfolio To Embrace Rate Cuts” เพื่อวิเคราะห์และประเมินเศรษฐกิจโลกในช่วงครึ่งหลังของปี 2567 โดยคาดว่ามีโอกาสสูงที่เศรษฐกิจโลกจะชะลอลงแบบ Soft Landing และเศรษฐกิจจะไม่เข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) จึงประเมินว่าสินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้นมีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นต่อได้ อย่างไรก็ดี ยังมีหลายความเสี่ยงที่กระทบตลาดทุนที่นักลงทุนต้องจับตา อย่าง อัตราดอกเบี้ยที่อาจจะสูงยาวนานต่อเนื่อง (Higher for Longer) ความขัดแย้งทั้งสงครามกายภาพและสงครามการค้า รวมถึงการเลือกตั้งสหรัฐฯ ที่กำลังจะเกิดขึ้นช่วงปลายปีที่อาจจะกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจ แนะให้แบ่งเงินลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนในระยะยาวโดยเน้นลงทุนแบบ Risk-based ที่กระจายลงทุนในสินทรัพย์หลักทั่วโลกผ่านกองทุน ALL ROADS Series พร้อมกระจายลงทุนในหุ้น ตราสารหนี้ และการลงทุนทางเลือก เพื่อสะสมความมั่งคั่งในระยะยาว
นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ปี 2567 ถือว่าเป็นปีที่ดีของการลงทุน ภาพรวมตลาดหุ้นทั่วโลกให้ผลตอบแทนที่ดีต่อเนื่องจากปี 2566 เห็นได้จากที่ผลตอบแทนสินทรัพย์เสี่ยงอย่างดัชนีหุ้นทั่วโลก (MSCI All Country World Index) ปรับเพิ่มขึ้น +11.5% เป็นผลมาจากที่เศรษฐกิจทั่วโลกที่ฟื้นตัวได้ดี จากผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนที่ฟื้นตัวและเติบโตขึ้นในหลายกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น กลุ่มเทคโนโลยี สินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าฟุ่มเฟือย อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยที่ท้าทายตลาดลงทุนที่นักลงทุนต้องจับตาในอีกหลายประการ เช่น ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะเริ่มลดดอกเบี้ยเมื่อไหร่ ใครจะเป็นผู้ชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ซึ่งจะกระทบต่อนโยบายเศรษฐกิจและการเมืองโลกอย่างมีนัยสำคัญ ความขัดแย้งระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของสงครามที่ใช้อาวุธและกำลังคน หรือสงครามการค้าและเทคโนโลยี โดยธนาคารได้ร่วมมือกับลอมบาร์ด โอเดียร์ จัดงานสัมมนาเพื่อสรุปเหตุการณ์สำคัญและให้มุมมองต่อแนวโน้มเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อภาคการลงทุน รวมทั้งตลาดการลงทุนทั่วโลกเป็นประจำทุกปี เพื่อนำเสนอกลยุทธ์และให้คำแนะนำในการจัดพอร์ตการลงทุนในช่วงครึ่งปีหลัง 2567 เพื่อให้ลูกค้าบุคคลสินทรัพย์สูงของธนาคารเตรียมพร้อมรับมือ และสามารถบรรลุเป้าหมายในการสร้างความเติบโตและโอกาสในการต่อยอดความมั่งคั่งอย่างยั่งยืน
- หุ้นกลุ่ม Growth เช่น กองทุนหุ้นสหรัฐฯ ที่มีศักยภาพในการเติบโตที่โดดเด่น แม้ว่าราคาจะปรับเพิ่มขึ้นมามากแล้ว แต่ก็หนุนโดยกำไรสุทธิที่เติบโตอย่างแข็งแกร่ง ราคาหุ้นในปัจจุบันวัดจากปัจจัยพื้นฐาน (Valuation) แล้ว ยังถือว่าราคาไม่แพง และยังมีโอกาสเติบโตได้อีก โดยแนะนำให้ลงทุนในกองทุน K-USA กองทุนหุ้นยุโรปขนาดกลางและเล็ก ที่จะได้ประโยชน์โดยตรงจากการลดดอกเบี้ยของ ECB โดยแนะนำให้ลงทุนในกองทุน K-EUSMALL นอกจากนี้ยังแนะนำกองทุนหุ้นเวียดนาม ที่กำไรบริษัทจดทะเบียนเติบโตโดดเด่นเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค อีกทั้งระดับราคาหุ้นในปัจจุบันวัดจากปัจจัยพื้นฐาน (Valuation) ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ย และในระยะยาวยังได้ประโยชน์จากเม็ดเงินลงทุนของต่างชาติที่ย้ายฐานการผลิตเข้ามาในเวียดนามด้วย โดยแนะนำให้ลงทุนในกองทุน PRINCIPAL-VNEQ
- ตราสารหนี้ อย่าง พันธบัตรรัฐบาลระยะยาว จากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ (US Bond Yield) ที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูงและมีโอกาสปรับลงในระยะข้างหน้า เมื่อแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของ FED ชัดเจนขึ้น ทำให้ผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยมีความน่าสนใจ และยังมีโอกาสได้กำไรจากส่วนต่างราคาเมื่อ FED ปรับลดดอกเบี้ย นอกจากนี้ พันธบัตรรัฐบาลถือเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยและช่วยกระจายความเสี่ยงได้ดี หากเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะชะลอตัว โดยแนะนำให้ลงทุนในกองทุน K-GDBOND และเสริมพอร์ตการลงทุนด้วยหุ้นกู้ในภูมิภาคเอเชีย ผ่านกองทุน K-APB ที่ให้ผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูง และมีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำเนื่องจากเศรษฐกิจในเอเชียยังแข็งแกร่ง
- การลงทุนทางเลือก เช่น กองทุนทางเลือกที่มีกลยุทธ์ซื้อขายสกุลเงินหลักของโลก ที่เน้นลงทุนในสกุลเงินหลัก ที่คาดว่าจะแข็งค่าขึ้น ผ่านการวิเคราะห์จากหลายปัจจัยพื้นฐาน ทั้งแนวโน้มภาพรวมเศรษฐกิจ ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย อัตราเงินเฟ้อดุลการชาระเงิน รวมทั้งกระแสเงินไหลเข้า – ออก โดยแนะนำให้ลงทุนในกองทุน DAOL-FXALPHA-UI
สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถรับชมงานสัมมนา Repositioning Portfolio To Embrace Rate Cuts ได้ที่ KBank Private Banking Youtube Channel หรือ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมทางเว็บไซต์ของ KBank Private Banking ได้ที่ https://kbank.co/3NrNbw9