CardX ชี้เทรนด์ Pet Parent “เลี้ยงสัตว์เหมือนลูก” ยังคงกระตุ้นเงินหมุนเวียนอุตสาหกรรมสัตว์เลี้ยงเติบโตอย่างต่อเนื่อง พร้อมผนึกพาร์ทเนอร์ทั่วประเทศ มอบโปรโมชันเด็ดเอาใจคนรักสัตว์เลี้ยงตลอดปี 2567
ปัจจุบันไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคนในประเทศมีความนิยมเลี้ยงสัตว์เลี้ยงกันมากขึ้น โดยนอกจากจะเลี้ยงสัตว์ไว้เพื่อคลายเหงาแล้ว คนส่วนใหญ่มีการดูแลสัตว์เลี้ยงเสมือนลูกหรือสมาชิกในครอบครัวจนเริ่มเกิดเทรนด์ Pet Parent ขึ้นมา ซึ่งเป็นเทรนด์ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องทั่วโลก สอดคล้องกับปัจจุบันที่ผู้คนมีแนวโน้มใช้ชีวิตอยู่คนเดียวมากขึ้นท่ามกลางเศรษฐกิจคนโสด หรือ Solo Economy โดยคนกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มคนในตลาดที่มีศักยภาพสูง มีกำลังในการจับจ่ายสินค้า และบริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสัตว์เลี้ยงสูง ทำให้เป็นกลุ่มธุรกิจที่น่าจับตามองเป็นอย่างมากในยุคนี้
Pet Parent คือ การเลี้ยงสัตว์เสมือนกับเป็นลูก หรือเป็นบุคคลในครอบครัว ซึ่งเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในครอบครัวยุคใหม่ โดยจากแนวโน้มการเลี้ยงสัตว์เสมือนคนในครอบครัวที่เติบโตมากขึ้นทำให้มีรายจ่ายหมุนเวียนเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมสัตว์เลี้ยงเป็นจำนวนมาก สำหรับตลาดในประเทศไทย คาร์ดเอกซ์ได้ทำการสำรวจพบว่าค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยตั้งแต่เริ่มต้นมองหาสัตว์เลี้ยงไปจนถึงวันสุดท้ายของชีวิตสัตว์เลี้ยง สามารถแบ่งเป็น 4 ช่วงเวลา และในแต่ละช่วงเวลาของชีวิตสัตว์เลี้ยงจะมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยที่แตกต่างกันออกไปดังนี้
• ขั้นที่ 1: มองหาสัตว์เลี้ยง เป็นช่วงเวลาที่ค้นหาสัตว์ และสายพันธุ์ที่ชื่นชอบ พร้อมทั้งศึกษาวิธีการเลี้ยง ซื้อของใช้พื้นฐานต่าง ๆ เพื่อเตรียมพร้อมรอรับสมาชิกใหม่ของบ้าน โดยปัจจุบันฟาร์มหรือผู้นำเข้าสัตว์เลี้ยงจะมีตัวเลือกให้ผู้สนใจเลี้ยงสัตว์สามารถผ่อน จ่ายเงินสด หรือใช้บัตรเครดิตได้โดยค่าใช้จ่าย เริ่มต้นตั้งแต่ 5,000 บาทขึ้นไป และของใช้เบื้องต้นมีค่าใช้จ่ายตั้งแต่ 2,000 บาทขึ้นไป
• ขั้นที่ 2: ต้อนรับสมาชิกใหม่ (อายุ 0 – 3 ปีแรก) เป็นช่วงเวลาที่เราเห็นอะไรที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงก็น่าซื้อไปหมด ไม่ว่าจะเป็นอาหาร อุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ การพาสัตว์เลี้ยงไปเข้ากิจกรรม หรือโรงเรียนฝึกสัตว์เลี้ยง รวมถึงค่าใช้จ่ายในโรงพยาบาลสัตว์กรณีที่มีการเจ็บป่วย ในช่วงนี้มีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นมากพอสมควร เช่น ค่าวัคซีน ทำหมัน ค่ากินเที่ยว หรือช้อปปิ้งสิ่งที่ดีที่สุดให้สัตว์เลี้ยง ค่ากิจกรรมต่าง ๆ รวมถึงค่าโรงเรียนฝึกสัตว์เลี้ยงด้วย โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 50,000 – 200,000 บาทต่อปี
• ขั้นที่ 3: สะสมประสบการณ์และความทรงจำร่วมกัน (อายุ 4 – 11 ปี) ในช่วงนี้เจ้าของและสัตว์เลี้ยงจะมีกิจกรรมด้วยกันมากขึ้น รวมถึงการดูแลสุขภาพสัตว์เลี้ยงและอาการเจ็บป่วย โดยเฉพาะเมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น โดยอาจจะมีการมองหาประกันสุขภาพสำหรับสัตว์เลี้ยงเพิ่มเติม รวมถึงบริการด้าน Wellness อื่น ๆ อาทิ Gym สปา วิตามิน หรืออาหารเสริม โดยสัดส่วนค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ราว ๆ 40,000 – 150,000 บาทต่อปี และเมื่อขยับไปในช่วงอายุ 10 ปีขึ้นไป จะมีความถี่ในการตรวจสุขภาพมากยิ่งขึ้น เป็นการเข้าโรงพยาบาลเพื่อตรวจสุขภาพ และเน้นการท่องเที่ยวให้สัตว์เลี้ยงได้พักผ่อนและไม่เหนื่อยเกินไป บางครอบครัวเริ่มมองหาสมาชิกใหม่เพิ่มเติมอีกด้วย เพราะไม่อยากเว้นช่วงที่ไม่มีสัตว์เลี้ยง โดยค่าใช้จ่ายในช่วงนี้จะอยู่ที่ 50,000 – 150,000 บาทต่อปี
• ขั้นที่ 4: บั้นปลายชีวิต (12 ปีขึ้นไป) ในช่วงบั้นปลายของชีวิตสัตว์เลี้ยง ช่วงนี้ต้องเข้าออกโรงพยาบาลอยู่บ่อยครั้ง ปรับอาหารการกินตามวัยให้เหมาะสมที่สุด งดกิจกรรมนอกบ้านลงและอยู่ร่วมกันในบ้านมากขึ้น เมื่อสัตว์เลี้ยงเสียชีวิตลง เจ้าของอาจมีการทำพิธีตามความเชื่อทางศาสนา หรือทำของที่ระลึกไว้เป็นตัวแทนของสัตว์เลี้ยงที่จากไป ซึ่งมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 80,000 – 200,000 บาทต่อปี ขึ้นอยู่กับสุขภาพของสัตว์เลี้ยง
โดยล่าสุดจากผลสำรวจคาร์ดเอกซ์ยังชี้ให้เห็นว่า กลุ่ม Pet Parent เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง กล้าใช้จ่ายเพื่อความสุขของสมาชิกในครอบครัวอย่างเหล่าสัตว์เลี้ยงมากขึ้น นอกจากนี้ในฝั่งของผู้ประกอบการเอง ก็มีโอกาสทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้น และเติบโตรับกับเทรนด์ดังกล่าวเป็นอย่างมาก อาทิ อาหารสัตว์ Wellness สำหรับสัตว์เลี้ยง หรือแม้แต่การทำประกันสัตว์เลี้ยง เพื่อให้สัตว์เลี้ยงที่รักเสมือนลูกได้รับความคุ้มครองและการดูแลที่ดีที่สุด
CardX พร้อมเอาใจบรรดา Pet Parent คนรักสัตว์เลี้ยงด้วยโปรโมชัน “แลกรับเครดิตเงินคืน” ถึง 10%* เมื่อมียอดใช้จ่ายแบบชำระเต็มจำนวน และแลกคะแนนสะสม CardX Rewards เท่ายอดใช้จ่าย / เซลล์สลิป ณ โรงพยาบาลสัตว์, คลินิกสัตว์, และเพ็ทช็อปที่ร่วมรายการ สิทธิพิเศษสำหรับบัตรเครดิต CardX และ SCB ตั้งแต่วันนี้ – 31 ธ.ค. 67
ใช้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้เต็มจำนวนตามกำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 16% ต่อปี
กรณีเบิกถอนเงินสดล่วงหน้าจากบัตรเครดิต เสียดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่เบิกถอน
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมที่ : https://rebrand.ly/fpdpd6x