- ย้ำเครื่องมือติดตามสุขภาพเป็นกุญแจสำคัญสู่การดูแลสุขภาพองค์รวม
- พร้อมเปิดผลวิจัย “ออกกำลังกาย-นอนเพียงพอ ช่วยเพิ่มความสุขได้”
GARMIN ผู้ส่งมอบที่สุดของความหลากหลายทางเทคโนโลยี GPS ตั้งแต่อุตสาหกรรมการบิน ยานยนต์ การเดินทะเล ฟิตเนส และกิจกรรมกลางแจ้ง เผยรายได้ปี 2024 ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ด้วยรายได้ 6.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 2 แสนล้านบาท เติบโตกว่า 20% จากปีก่อน ทั้งยังทำสถิติรายได้สูงสุดในทั้ง 5 กลุ่มธุรกิจ
คุณหรรษา อาภานุกูล ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายการตลาด การ์มิน ประเทศไทย กล่าวว่า “ปี 2024 ที่ผ่านมาเป็นปีแห่งการเติบโตและเป็นปีแห่งความสำเร็จของ Garmin ซึ่งเป็นผลมาจากกระแสการให้ความสำคัญกับสุขภาพที่ยังมาแรงต่อเนื่องทั่วโลก ประกอบกับความมุ่งมั่นในการพัฒนานวัตกรรมและผลิตภัณฑ์อย่างไม่หยุดยั้ง Garmin จึงเข้าไปช่วยตอบโจทย์เทรนด์การดูแลสุขภาพของผู้คนในปัจจุบันที่หันมาพึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น ผลประกอบการในปีที่ผ่านมา Garmin จึงเติบโตถึง 20%”
“สำหรับเทรนด์การดูแลสุขภาพในปัจจุบัน ผู้คนให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม (Holistic Wellbeing) มากขึ้น ซึ่งหมายถึงการใส่ใจสุขภาพในทุกมิติ ทั้งร่างกาย จิตใจ รวมถึงสังคม โดยมีเป้าหมายในการป้องกันโรค (Prevention) และดูแลสุขภาพอย่างยั่งยืน ช่วยสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาวโดยมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการข้อมูลสุขภาพ อุปกรณ์สวมใส่ (Wearable Health Tech) อย่างสมาร์ทวอทช์ จึงได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการมอนิเตอร์ข้อมูลสุขภาพ ทำให้ผู้คนสามารถเข้าถึงข้อมูลสุขภาพของตนเองได้ง่ายและเรียลไทม์ ซึ่งช่วยให้เกิดการตระหนักรู้เรื่องสุขภาพร่างกายของตัวเอง และกระตุ้นให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อให้มีสุขภาพที่ดีขึ้นแบบเชิงรุก” คุณหรรษา กล่าว
การศึกษานี้ได้ทำผ่านโครงการนำร่อง (Pilot Study) และจะขยายสู่งานวิจัยที่ใช้กลุ่มตัวอย่างใหญ่ขึ้นถึง 10,000 คน ซึ่งจะเปิดรับสมัครผู้ใช้ Garmin จากทั่วโลกมาเป็นกลุ่มตัวอย่าง ผู้สวมใส่สมาร์ทวอทช์ Garmin สามารถเป็นส่วนหนึ่งในโครงการวิจัยได้ ศึกษาเพิ่มเติมที่ https://www.healthandhappinessstudy.com/ ซึ่งในการวิจัยนำร่องได้เผยผลการศึกษาที่น่าสนใจหลายประการ ได้แก่
- การออกกำลังกายและการนอนหลับอย่างเพียงพอในแต่ละวัน ซึ่งวัดผลด้วยอุปกรณ์ Garmin มีความสัมพันธ์อย่างมากต่อความสุขที่เพิ่มขึ้น และระดับความเครียดที่ลดลง
- ความมั่นคงทางอารมณ์แตกต่างกันไปตามอายุ โดยผู้ที่มีอายุมากมีความมั่นคงทางอารมณ์มากกว่า ในขณะที่ผู้ที่มีอายุน้อยมีความแปรปรวนทางอารมณ์มากกว่า
- ผู้เข้าร่วมรู้สึกว่าการติดตามอารมณ์ของตัวเองตลอดวันเป็นสิ่งที่มีคุณค่า
- และยังพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความสุขที่สุดเมื่อมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางวัฒนธรรมและสังคม เมื่อได้รับประทานอาหาร หรือเมื่อได้ใช้เวลาร่วมกับเพื่อนและครอบครัว
“การเติบโตของ Garmin ในครั้งนี้ เกิดขึ้นจากการที่ผลิตภัณฑ์ของเราได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนยุคใหม่ที่ใส่ใจสุขภาพ ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลสุขภาพของตนเองผ่านฟีเจอร์ที่ครอบคลุมเกือบทุกด้านของ Garmin ไม่ว่าจะเป็น การวัดระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด การติดตามระดับความเครียด ระดับความเข้มข้นในการออกกำลังกาย (Intensity Minutes) การติดตามสุขภาพของผู้หญิง ทั้งการติดตามรอบเดือน และการติดตามการตั้งครรภ์ อัตราการเต้นของหัวใจ ระดับพลังงานร่างกาย (Body Battery) การติดตามการนอนหลับ การติดตามการดื่มน้ำ อัตราการหายใจ และฟีเจอร์วัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรือ ECG ที่เพิ่งเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการในประเทศไทยไปเมื่อปลายปีที่ผ่านมา Garmin ยังคงมุ่งมั่นในการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี รวมถึงฟีเจอร์สุขภาพให้ครอบคลุมรอบด้านมากยิ่งขึ้น เพื่อส่งมอบข้อมูลสุขภาพที่หลากหลายและถูกต้องแม่นยำ สนับสนุนให้เกิดการดูแลสุขภาพเชิงรุก ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาว” คุณหรรษา กล่าวปิดท้าย