เมืองไทยประกันชีวิต ผนึกโรงพยาบาลคู่สัญญา ให้บริการ Telemedicine ช่วงโควิด-19 ระบาด

นายสาระ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เมืองไทยประกันชีวิตยังมุ่งมั่นในการเดินหน้าพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ภายใต้นโยบาย MTL Everyday Life Partner” ที่พร้อมจะเดินเคียงข้างในทุกช่วงของชีวิต ซึ่งจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในปัจจุบันที่ยังไม่คลี่คลาย บริษัทฯ มีความห่วงใยและตระหนักถึงผู้เอาประกันภัยที่มีโรคเรื้อรังและจำเป็นต้องมีการติดตามรักษาอาการอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่สะดวกในการไปพบแพทย์และรับยาที่โรงพยาบาล

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้า บริษัทฯ ได้เดินหน้าจับมือกับโรงพยาบาลคู่สัญญาที่มีความพร้อมในการให้บริการผู้ป่วย ได้รับยาตามคำสั่งการรักษาของแพทย์ ผ่านทางโทรเวชกรรม (Telemedicine) เพื่อเป็นการให้ความช่วยเหลือ และลดความเสี่ยงจากการเดินทางออกจากบ้านให้แก่ผู้เอาประกันภัยในช่วงสถานการณ์ดังกล่าว โดยมีโรงพยาบาลคู่สัญญาที่เข้าร่วมให้บริการ จำนวน 40 แห่ง ประกอบด้วย

โรงพยาบาลสมิติเวช Samitivej Virtual Hospital โรงพยาบาลกรุงเทพ โรงพยาบาลเกษมราษฎร์บางแค โรงพยาบาลเจ้าพระยา โรงพยาบาลเทพธารินทร์ โรงพยาบาลไทยนครินทร์ โรงพยาบาลนครธน โรงพยาบาลนวมินทร์ 9 โรงพยาบาลบางปะกอก 1 โรงพยาบาลบางปะกอก 9 โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โรงพยาบาลบี.แคร์เมดิคอลเซ็นเตอร์ โรงพยาบาลบีเอ็นเอช โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน โรงพยาบาลพญาไท 1 โรงพยาบาลพญาไท 2 โรงพยาบาลพญาไท นวมินทร์ โรงพยาบาลพระรามเก้า โรงพยาบาลวิภาวดี โรงพยาบาลเวชธานี

โรงพยาบาลสมิติเวชไชน่าทาวน์ โรงพยาบาลสมิติเวชธนบุรี โรงพยาบาลสุขุมวิท โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์ โรงพยาบาลบางปะกอก รังสิต 2 โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 โรงพยาบาลบางปะกอก 3 โรงพยาบาลบางปะกอก สมุทรปราการ โรงพยาบาลมหาชัย 1 โรงพยาบาลมหาชัย โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา โรงพยาบาลพญาไท ศรีราชาโรงพยาบาลสมิติเวช ศรีราชา โรงพยาบาลสมิติเวชชลบุรี โรงพยาบาลศรีสวรรค์ โรงพยาบาลกรุงเทพราชสีมา โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต โรงพยาบาลกรุงเทพสิริโรจน์ โรงพยาบาลกรุงเทพหาดใหญ่ และโรงพยาบาลกรุงเทพสุราษฎร์ โดยจะเริ่มให้บริการ Telemedicine ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 มีนาคม 2564

โดยผู้เอาประกันภัยที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังและมีความประสงค์ใช้บริการ Telemedicine นี้ จะต้องเป็นผู้ป่วยเดิมที่มีประวัติการรักษาในโรงพยาบาลที่ให้บริการตามที่กำหนด โดยเป็นโรคเรื้อรังที่จำเป็นต้องมีการติดตามและต้องได้รับยาต่อเนื่อง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น และมีนัดตรวจติดตามการรักษาโดยบริการดังกล่าวจะครอบคลุมการพบแพทย์ และการสั่งยา ทั้งนี้สามารถใช้บริการได้ทั้งผู้เอาประกันภัยรายบุคคลและรายกลุ่ม ที่มีผลประโยชน์ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก (เงื่อนไขเป็นไปตามที่โรงพยาบาลและกรมธรรม์กำหนด)

สำหรับบริการ Telemedicine Samitivej Virtual Hospital ยังคงให้บริการตามเงื่อนไขปกติ ครอบคลุมทั้งการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังและการเจ็บป่วยด้วยโรคทั่วไป ไม่จำเป็นต้องเป็นคนไข้เดิมของทางโรงพยาบาล ครอบคลุมทั้งผู้เอาประกันภัยรายบุคคลและรายกลุ่ม (เงื่อนไขเป็นไปตามที่โรงพยาบาลและกรมธรรม์กำหนด)

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ เมืองไทยประกันชีวิต โทร. 1766 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือติดต่อโรงพยาบาลคู่สัญญาที่เข้าร่วมโครงการได้โดยตรง