ดีมันนี่ ปฏิวัติวงการ! ธุรกิจการชำระเงินข้ามพรมแดนไทย – อินเดีย เซ็นสัญญาความร่วมมือกับ IndusInd Bank เปิดบริการผ่านระบบยูพีไอ
- ครั้งแรก! ของการร่วมมือระหว่างธุรกิจฟินเทคกับธนาคารรายใหญ่เพื่อมอบบริการชำระเงินข้ามพรหมแดน
- DeeMoney ปฏิวัติวงการ! บุกเบิกธุรกิจการชำระเงินข้ามพรหมแดนจากไทยสู่อินเดีย
- ลูกค้าสามารถโอนเงินระหว่างไทย-อินเดียได้ง่าย ๆ เพียงกรอก UPI ID ของผู้รับเงินในแอปพลิเคชั่น DeeMoney
- เริ่มเปิดบริการปลายไตรมาสแรกปี 2022
บริษัท สวัสดีช้อป จำกัด ในนาม ดีมันนี่ (DeeMoney) บริษัทฟินเทคผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจชำระเงินข้ามพรมแดนที่เติบโตเร็วที่สุดของเมืองไทยเตรียมเปิดบริการชำระเงินข้ามพรมแดนสู่อินเดียผ่านระบบ UPI (Unified Payments Interface) เพื่อให้ลูกค้าได้ใช้ระบบการโอนเงินชั้นเยี่ยมของดีมันนี่จากไทยสู่อินเดียได้อย่างสะดวก ง่ายดาย และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
เมื่อเร็ว ๆ นี้ ดีมันนี่ได้ลงนามสัญญาความร่วมมือกับธนาคารอินดัสอินด์ (IndusInd Bank) หนึ่งในธนาคารเอกชนชั้นนำของอินเดียซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในเมืองมุมไบ ภายใต้ความร่วมมือครั้งนี้ ดีมันนี่จะสามารถใช้ช่องทางของ Induslnd Bank เพื่อเชื่อมต่อกับระบบการชำระเงินของบรรษัทการชำระเงินแห่งชาติอินเดีย (National Payments Corporation of India: NPCI) ในการยืนยันข้อมูลความถูกต้อง และชำระเงินให้แก่บัญชีผู้รับในต่างแดน
การร่วมมือเป็นพันธมิตรกับดีมันนี่นับเป็นก้าวสำคัญของธุรกิจชำระเงินข้ามพรหมแดนที่นำระบบ UPI ของอินเดียมาใช้เพื่อการชำระเงินข้ามพรหมแดนครั้งแรก โดย Unified Payments Interface (UPI) คือแพลตฟอร์มการชำระเงินแบบเรียลไทม์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการชำระเงินระหว่างบัญชีธนาคารผ่านแอปพลิเคชันสมาร์ตโฟน ทำให้ธนาคารต่าง ๆ สามารถเชื่อมต่อกันได้ด้วยแอปพลิเคชันเดียว การชำระเงินระบบ UPI เปิดบริการในอินเดียแล้วอย่างเป็นทางการ โดยมีบริการเฉพาะธุรกรรมภายในประเทศ ความร่วมมือครั้งนี้จึงมีนัยสำคัญอย่างยิ่ง เพราะทำให้ระบบสามารถทำการชำระเงินข้ามพรหมแดนได้
นับตั้งแต่เปิดตัวในปี 2016 ระบบ UPI ได้ถูกนำไปใช้งานอย่างแพร่หลายในอินเดีย โดยรายงานของ Jeffries ระบุว่า ในปีการเงิน 2022 ระบบ UPI ถูกใช้งานเป็นสัดส่วนถึง 50% ของการชำระเงินระบบดิจิทัลทั้งหมดในธุรกิจค้าปลีกของอินเดีย และคิดเป็นเกือบ 4.5 เท่าของธุรกรรมบัตรเดบิตและบัตรเครดิตในประเทศ
ฟีเจอร์ UPI ถือเป็นการเปิดมิติใหม่แห่งความสะดวกสบายในการโอนชำระเงินจากไทยสู่อินเดีย ลูกค้าที่ใช้แอปพลิเคชัน DeeMoney จะสามารถโอนเงินได้อย่างง่ายดาย เพียงกรอก UPI ID ของผู้รับเงิน โดยไม่จำเป็นต้องใส่รายละเอียดบัญชีธนาคาร ผลการศึกษาประจำปี 2017 ของ Pew Research ชี้ว่าในปี 2017 มีการส่งเงินจากไทยไปยังประเทศต่าง ๆ ที่ 3,176,000,000 ดอลลาร์ ซึ่งในจำนวนนี้เป็นเงินที่ส่งจากไทยไปอินเดียถึง 197,000,000 ดอลลาร์ ถือเป็นมูลค่าการเติบโตที่ค่อนข้างสูงและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
นายอัศวิน พละพงศ์พานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สวัสดีช้อป จำกัด หรือ DeeMoney กล่าวว่า “เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับ Induslnd Bank และ NPCI เป็นการพัฒนาก้าวสำคัญเพื่อมอบบริการชำระเงินข้ามพรมแดนสู่ประเทศอินเดียที่ทั้งสะดวกและง่ายแก่ลูกค้าของเรา นับเป็นอีกครั้งที่ดีมันนี่ก้าวขึ้นเป็นผู้นำในตลาดการเงินไทยในการร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมครั้งแรกระหว่างธุรกิจฟินเทคกับธนาคารรายใหญ่ เพื่อมอบบริการชำระเงินข้ามพรมแดนที่ง่ายแบบไร้รอยต่อ ไม่แตกต่างจากการส่งข้อความพูดคุยกันตามปกติเลย พันธกิจของเราในการก่อตั้งดีมันนี่คือการปฏิรูปธุรกิจการชำระเงินแบบดั้งเดิมให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น ซึ่งความร่วมมือครั้งนี้เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างแห่งความมุ่งมั่นของเราในการให้บริการระบบการชำระเงินข้ามพรมแดนที่เชื่อมโยงถึงกันสู่ลูกค้าทุกราย”
ปัจจุบัน ดีมันนี่กำลังพัฒนาระบบต่าง ๆ ที่จำเป็นในการนำเสนอบริการ UPI แก่ลูกค้าในเมืองไทย โดยตั้งเป้าเปิดตัวฟีเจอร์ในช่วงปลายไตรมาสแรกของปี 2022 ดีมันนี่ใช้แพลตฟอร์ม Grand Central ซึ่งพัฒนาขึ้นเองในการทำธุรกรรมชำระเงินทั้งขาเข้าและขาออกมากกว่า 100 ประเทศ บริษัทฯ ต้องการยกระดับประสิทธิภาพระบบนิเวศของฟินเทคข้ามพรหมแดน เพื่อเชื่อมโยงธุรกรรมทางการเงินให้แก่ลูกค้าซึ่งใช้งานทั้งระบบดิจิทัลและระบบการเงินแบบดั้งเดิมผ่านการนำเสนอโซลูชันการโอนเงินที่เชื่อมโยงถึงกันทุกระบบ จวบจนวันนี้ บริษัทฯ ได้ทำธุรกรรมแล้วมากกว่า 2 ล้านรายการ มูลค่ารวมกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งในและนอกประเทศไทย
แพลตฟอร์ม UPI ถูกพัฒนาขึ้นโดยบรรษัทการชำระเงินแห่งชาติอินเดีย (National Payments Corporation of India: NPCI) ซึ่งเป็นองค์กรใหญ่ที่ดำเนินงานด้านระบบการชำระเงินสำหรับธุรกิจค้าปลีกในอินเดีย โดยเป็นโครงการริเริ่มระหว่างธนาคารทุนสำรองอินเดีย (Reserve Bank of India: RBI) และสมาคมธนาคารอินเดีย (Indian Banks’ Association: IBA) ภายใต้กฎหมาย Payment and Settlement Systems Act 2007 เพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของระบบการชำระเงินที่แข็งแกร่งในอินเดีย