“ฟิลิปส์” มุ่งสร้างความยั่งยืนภายใต้แนวคิด ‘Healthy people, Sustainable planet’ พร้อมบูรณาการทำงานตามหลัก ESG
- ฟิลิปส์ เป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีเพื่อการดูแลสุขภาพรายแรก ที่สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนจากการดำเนินงานทั้งหมดได้
- ฟิลิปส์ เตรียมยกระดับการบูรณาการตามหลัก ESG (Environmental, Social, and Governance) ที่เน้นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ตั้งเป้ายกระดับมาตรฐานใหม่ให้บริษัทฯ ในอีก 5 ปีข้างหน้า
รอยัล ฟิลิปส์ (NYSE: PHG, AEX: PHIA) ในฐานะบริษัทชั้นนำระดับโลกด้านเทคโนโลยีเพื่อการดูแลสุขภาพ ประกาศความสำเร็จในการเข้าถึงเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ในปี 2016 – 2020 ภายใต้โครงการ ‘Healthy people, Sustainable planet’ อันได้แก่ การดำเนินงานที่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน carbon neutrality 100% ของพลังงานไฟฟ้ามาจากแหล่งพลังงานทดแทน ยอดขายกว่า 70% มาจากผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในขณะที่ยอดขาย 15% มาจากสินค้าที่หมุนเวียน(Circular revenues) มีการรีไซเคิลวัสดุที่เหลือใช้จากการดำเนินงานกว่า 90% และมีปริมาณขยะฝังกลบเป็นศูนย์ (Zero Waste to Landfill)
นายฟรานซ์ แวน ฮูเทน ซีอีโอของรอยัล ฟิลิปส์ กล่าวว่า “ผมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะประกาศว่าเราได้บรรลุเป้าหมายของโครงการ ‘Healthy people, Sustainable planet’ ก้าวสู่การเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพแห่งแรกที่สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนให้เป็นกลาง (carbon neutral) ในการดำเนินงานทั้งหมด ภายใต้หลักการทำงานการบูรณาการของ ESG โดยความสำเร็จในครั้งนี้ ไม่ได้มาจากการที่เราดำเนินการแต่เพียงผู้เดียว แต่เราได้ร่วมมือกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง ภาครัฐและภาคเอกชน ในการขับเคลื่อนด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ที่ส่งผลกระทบระดับโลก จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และภาวะโลกร้อน เพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพและการเข้าถึงระบบสาธารณสุขที่มีคุณภาพของผู้คน ดังนั้น เราจึงมุ่งมั่นที่จะช่วยสนับสนุนและฟื้นฟูระบบสาธารณสุขที่ครอบคลุมทั่วถึง ไปพร้อมๆ กับลดการพึ่งพาการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ”
ความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อม
- แหล่งพลังงานทดแทน (Renewal Energy Source): ฟิลิปส์ ได้มีการทำข้อตกลงความร่วมมือ consortium-led virtual Power Purchase Agreements ในการสนับสนุนด้านพลังงานทดแทน อย่างพลังงานกังหันลมที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ เพื่อเป็นแหล่งพลังงานไฟฟ้าสำคัญของการดำเนินงานของบริษัทฯ ในทวีปยุโรป
- ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular economy): ฟิลิปส์มีบทบาทสำคัญใน Platform for Accelerating the Circular Economy (PACE) แพลตฟอร์มที่จัดตั้งขึ้นเพื่อทำงานเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในการกำหนดแนวทางการดำเนินงานระดับโลก Action Agendas และมีส่วนผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับแนวคิดในการทำงานในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน และหนึ่งในพันธสัญญาของฟิลิปส์ในสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum: WEF) ว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับอุปกรณ์การแพทย์ขนาดใหญ่ Capital Equipment pledge โดยฟิลิปส์จะมีการเสนอโปรแกรม Trade-in เครื่องเก่าของฟิลิปส์ในทุกดีลที่บริษัทประมูลได้ หรือการนำชิ้นส่วนและวัสดุมารีไซเคิล เพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิตโดยไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ
- ระบบซัพพลายเชน (Supply chain): ฟิลิปส์ทำงานร่วมกับคู่ค้าที่เป็นซัพพลายเออร์ เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยการสนับสนุนความสามารถในการสร้างประสิทธิภาพและความโปร่งใสในระบบซัพพลายเชน แนวทางนี้ได้ช่วยเพิ่มขีดความสามารถด้านความยั่งยืนของซัพพลายเออร์ถึง 36% ตั้งแต่เข้าร่วมโปรแกรมในปี 2019
ความสำเร็จด้านสังคม
- ยกระดับคุณภาพชีวิตให้ผู้คน: ในปี 2020 ผลิตภัณฑ์และโซลูชันของฟิลิปส์ได้ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนกว่า 1,750 ล้านคน ซึ่งรวมถึงผู้ด้อยโอกาสกว่า 207 ล้านคนในชุมชนต่างๆทั่วโลก ฟิลิปส์ได้ร่วมมือกับภาครัฐ องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร(NGOs) และโรงพยาบาลต่างๆ อาทิ ความร่วมมือกับสหภาพแอฟริกัน partnered with the African Union ความร่วมมือของฟิลิปส์กับสหภาพแอฟริกา (African Union) ในการสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์และบุคลากร เพื่อช่วยเหลือในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19
- ระบบซัพพลายเชน (Supply chain): โปรแกรมต่างๆ ที่ฟิลิปส์จัดทำขึ้นในระบบซัพพลายเชน ช่วยยกระดับความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้พนักงานกว่า 302,000 คน ในระบบซัพพลายเชน ในปี 2020 ที่ผ่านมา
ความสำเร็จด้านธรรมภิบาล
- ที่ผ่านมาฟิลิปส์ ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในด้านความโปร่งใส เห็นได้จากการวางแผนงาน การดำเนินงาน และการรายงานผล ตัวอย่างเช่น ข้อมูลการทำงานด้าน ESG ทั้งหมดของฟิลิปส์จะถูกตรวจสอบอย่างละเอียดจากหน่วยงานตรวจสอบภายนอกที่น่าเชื่อถือ นอกจากนี้ในรายงานการดำเนินงานของฟิลิปส์ประจำปี 2020 ที่ผ่านมา เรายังมีการเปิดเผยข้อมูลทางด้านกิจกรรมและรายงานทางภาษีของฟิลิปส์ทุกประเทศที่เราดำเนินธุรกิจด้วย
นายวิโรจน์ วิทยาเวโรจน์ ประธานและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟิลิปส์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า “ฟิลิปส์ เรามีเป้าหมายด้านความยั่งยืนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้คนทั่วโลกให้ถึง 3 พันล้านคน ภายในปี 2568 ดังนั้น เราจึงมุ่งมั่นในการนำเสนอนวัตกรรมอันทรงคุณค่า เพื่อช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์มีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการทำงาน รวมถึงให้ประชาชนคนไทยมีนวัตกรรมมาช่วยในการดูแลสุขภาพที่บ้าน ไปพร้อมๆ กับการดูแลและใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ถึงแม้ว่าในประเทศไทยจะไม่ได้มีโรงงาน แต่เราก็ได้นำหลักการดังกล่าวมาใช้ในการดำเนินงานของออฟฟิศ ทั้งการลดการใช้กระดาษโดยเน้นการใช้ e-document เป็นหลัก การประหยัดพลังงาน การแยกขยะและนำกลับมารีไซเคิล
รวมถึงการช่วยเหลือและตอบแทนสังคมในด้านต่างๆ ผ่านการร่วมมือกับทั้งภาครัฐและภาคเอกชน อาทิ ความร่วมมือกับสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยฯ ในการออกตรวจสุขภาพโรคหัวใจให้กับประชาชนที่โรงพยาบาลกระบี่ เนื่องมาจากในพื้นที่ขาดแคลนบุคลากรและอุปกรณ์ทางการแพทย์ มอบเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ (AED) พร้อมจัดฝึกอบรมให้กับชุมชนหนองแขม หรือโครงการแบ่งฝันปันสุขที่จัดกิจกรรมมอบสิ่งของจำเป็นให้แก่เด็กๆ มูลนิธิบ้านนกขมิ้น เป็นต้น สำหรับในปีนี้ เราก็มีการจัดเตรียมโครงการด้านความยั่งยืน เพื่อมุ่งมั่นช่วยเหลือสังคมไทยภายใต้หลัก ESG ของฟิลิปส์ด้วยเช่นเคย”
สามารถติดตามรายละเอียดเกี่ยวกับผลการดำเนินงานทั้งหมดของฟิลิปส์ ได้ที่ รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2020